พฤติกรรมการปรับตัวของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปิยะนุช เงินคล้าย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการปรับตัว, บุคลากรสายปฏิบัติการ, ชีวิตวิถีใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมการปรับตัว ปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัว และข้อเสนอแนะที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยหรือรัฐบาลช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรเพื่อการรองรับวิถีชีวิตใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหงสายปฏิบัติการที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินพฤติกรรมการปรับตัว มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ที่ .948 ทำการทดสอบสมมติฐานทางสถิติด้วย One-way ANOVA และ เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD)

               ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการมีพฤติกรรมการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พฤติกรรมการปรับตัวทั้งด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านร่างกาย และด้านการพึ่งพาอาศัยกันและกัน อยู่ในระดับมากตามลำดับ  2. บุคลากรมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีเพศ อายุ สถานภาพการสมรส การศึกษา และรายได้ต่างกัน มีพฤติกรรมการปรับตัวทั้งภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการปรับตัวในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีพฤติกรรมการปรับตัวด้านการพึ่งพาอาศัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านอายุงานแตกต่างกันมีพฤติกรรมการปรับตัวในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีพฤติกรรมการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. บุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหงสายปฏิบัติการมีข้อเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยจัดหน่วยคัดกรองบุคคลเข้าออกอย่างเคร่งครัด ต่อเนื่อง และแจกจ่ายอุปกรณ์ในการป้องกันโรคโควิดให้เพียงพอและสม่ำเสมอ มีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิดอย่างชัดเจน และต้องการให้องค์การของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิดให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์แพร่เชื้อ การป้องกัน และการฉีดวัคซีนที่ชัดเจน

     

References

กรมสุขภาพจิต. (2564). กรมสุขภาพจิต เผยผลสำรวจสุขภาพจิตในสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ พร้อมจัดเวทีคู่ขนานหารือกับผู้แทนกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบเพื่อช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง. ค้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/covid19/news2/view.asp?id=48

ชนกนันท์ โตชูวงศ์. (2562). การจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทเอกชนในสภาวะวิกฤตการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19. ค้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.vl-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-1-1_1607918 110.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาส์น.

ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2563). การปรับตัวของธุรกิจหลงยุค COVID-19. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรรัตน์ แสดงหาญ. (2563). การปรับตัวในการทำงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในช่วงวิกฤตโควิด-19. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 14-33.

พิทักษ์พงศ์ ลี้ศัตรูพ่าย และปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. (2562). คุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานใน สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19ของพนักงานสำนักงาน กสทช. ค้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.vl-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-1-1_1607513954.pdf

พีระนันท์ จีระยิ่งมงคล, อัจฉราพรรณ วงษ์น้อย, บุญตา สุขวดี, สถิรกานต์ ทั่วจบ และธัญญรัศม์ ดวงคำ. (2564). ประสบการณ์การถูกกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด 19) ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยการพยาลและสุขภาพ, 22(1), 110-124.

สำนักองค์การอนามัยโลกแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานขององค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย. ค้นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://www.who.int /docs/default-source/searo/Thailand/2020 -06-22-tha-sitrep-93-covid-19-th.pdf?sfvrsn=a047817e_0

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Psychological Measurement. 30, 607 – 610.

Roy, S. C. (1999). Introduction to nursing: An adaptation model. Englewood Cliff, N.J: Prentice-Hall.

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

ภู่พันธ์ศรี ว. . ., เงินคล้าย ป. ., พึงวิวัฒน์นิกุล ว. ., & ธำรงศ์วรกุล พ. . (2025). พฤติกรรมการปรับตัวของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 256–279. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2075