ความท้าทายของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • สรวิชญ์ สายศร นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

โครงสร้างพื้นฐาน, รถไฟความเร็วสูง, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่อง ความท้าทายของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นการดำเนินโครงการโดยใช้ความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ให้บริการภาคขนส่งและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และโดยเฉพาะกับการเชื่อมโยงกับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่กระนั้น ยังพบปัญหาในการดำเนินโครงการ เช่น ปัญหาด้านกฎหมาย ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 จึงอาจส่งผลกระทบต่อระยะเวลาของโครงการ ซึ่งเมื่อมองในแง่ของนโยบายรถไฟความเร็วสูงจะทำให้ทราบว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับมาตรฐานระบบขนส่งทางรางให้สามารถแข่งขันกับการเดินทางประเภทอื่นได้ ทั้งนี้ ในประเด็นปัญหาอุปสรรค ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนิ้ 1) การรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะเจ้าของโครงการจำเป็นต้องมีการคาดการณ์ปริมาณวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ว่ามีเพียงพอต่อปริมาณความต้องการหรือไม่และจำเป็นต้องคำนึงถึงความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนโครงการในอนาคต 2) ต้องมีความชัดเจนในแผนงานของหน่วยงานที่จะดูแลเรื่องรถไฟความเร็วสูง 3) ควรกำหนดแนวทางความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาด้านบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม

References

ขนิษฐา พัวพันธ์พงษ์. (2560). “ความท้าทายของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติกรณีศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ–นครราชสีมาภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย–รัฐบาลจีน”, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉัตรชัย พ่วงสุวรรณ และธนสร กิรัมย์. (2565). การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิสรัปชันในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 103.

ณัฐดนัย สินธุวพลชัย. (2559). การพัฒนาโลจิสติกส์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : กรณีรถไฟฟ้ากึ่งความเร็วสูง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

เดช อุณหะจิรักรักษ์ (2565) เอกสารประกอบการบรรยายสัมมนานโยบายและการจัดการสาธารณะ, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

บุญเกียรติ การะเวกพันธ์. (2565). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

ปรัชญา เพ็งถมยา. (2563). การนำนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการไปปฏิบัติภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19): กรณีศึกษา ส่วนมาตรฐานเออีโอกรมศุลกากร. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566, จาก http://www3.ru.ac.th/mpaabstract/files/2563_1614239171_6214830010.pdf

วัลย์ลิยา ชนะพันธ์. (2564). การนำนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work from home) ไปปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): กรณีศึกษา สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565, จาก http://www3.ru.ac.th/mpaabstract/files/2564_1649651978_6314830070.pdf

ศตรรฆ ประจงค์. (2560). “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา.” วารสารเวอร์ริเดียน 10(2), 1518.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2565). รายงานวิจัยเรื่อง โอกาส และความท้าทาย: โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร–หนองคาย. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

หงษ์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง และจินตวัฒน์ ศิริรัตน์. (2563). โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย - จีน: โอกาสของการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารไทยคดีศึกษา, 17(2), 50-80.

อาทิตย์ อินธาระ เพียรพิทย์ โรจนปุณยา และนราธร สายเส็ง. (2560), “พัฒนาการของรถไฟไทยกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในอนาคต”, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12 (ฉบับพิเศษ), 151.

ไอลดา พงศ์พัฒนากร. (2559). “ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางระหว่างไทยจีน: กรณีศึกษาในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา,” การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

11-04-2023

How to Cite

สายศร ส. ., & ภู่พันธ์ศรี ว. . (2023). ความท้าทายของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค . วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 375–404. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1883