การพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้ยุคความปกติใหม่ของบุคลากรมหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • อนงค์ ตันติสุวัฒน์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รัฐศิรินทร์ วังกานนท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความปกติใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) แนวทางหรือข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้ยุคความปกติใหม่ ของบุคลากรมหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า ตามองค์ประกอบคุณภาพชีวิต 4 ด้านขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF-THAI) พบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ  และด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และตามองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงาน 8 ด้าน พบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคุณภาพชีวิตการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ ด้านความก้าวหน้าและมั่นคง ด้านความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และด้านความภูมิใจองค์การที่มีคุณค่าทางสังคมอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านลักษณะการบริหารอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีความเห็นตรงกันว่าควรจะพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมและด้านลักษณะการบริหารมากกว่าด้านอื่น เนื่องจากการพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมจะทำให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บุคลากรสามารถสร้างประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการพัฒนาด้านลักษณะบริหาร จะทำให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์การ

References

กนกวรรณ ชูชีพ. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กรรณิการ์ เฉกแสงรัตน์. (2564). พฤติกรรมทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เกศินี สันจะโป๊ะ. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ขจรศักดิ์ สุขเปรม. (2565). รายงานการวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิต ความสุขในการทำงานต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรกรมอนามัย. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มพัฒนาทรัพยากรบุคคล, กองการเจ้าหน้าที่ กรมอนามัย.

บัณฑิตา วิบูลสุขถวิล. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรมหาวิทยาลัยศรีปทุมภายใต้ยุคความปกติใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระเฉลิมพงศ์ จรณสมปนโน. (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตยุคนิวนอร์มอล. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(3), 116-128.

มาลินี คำเครือ. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

วราพงศ์ ยอดชารี. (2555). Reengineering. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/318161

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PAD 6201 องค์การและนวัตกรรมในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล (2564). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PAD 6301 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

ศรีนาย คุเณนทราศัย. (2551). รายงานวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545 ชื่อแบบคัดกรองทางสุขภาพจิต: เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต.

อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี. (2562). เทคนิคการบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงาน ก.พ. (ม.ป.ป.). ข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐในยุค New normal. กรุงเทพมหานคร : โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง ผู้บริหารส่วนราชการ (นบส.2) รุ่นที่ 12.

Rahman, T., Mittelhammer, R. C., & Wandscheider, P. (2005). Measuring the quality of life across countries: A sensitivity analysis of well-being indices. WIDER Working paper Series Research Paper No. 2005-06, World Institute for development Economic Research (UNU-WIDER).

เผยแพร่แล้ว

11-04-2023

How to Cite

ตันติสุวัฒน์ อ. . ., & วังกานนท์ ร. . (2023). การพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้ยุคความปกติใหม่ของบุคลากรมหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 342–374. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1882