ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เรนิกา รักษาเมือง นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัฐพงศ์ บุญเหลือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพ, การพัฒนาทรัพยากรบุคคล, สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล  (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณกับบุคลากร จำนวน 109 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง และอายุการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (2) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.95, S.D. = 0.52) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงานมีผลความสัมพันธ์สูงที่สุด อยู่ในระดับสูงมาก (r = 0.875)  รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ  (r = 0.783) ปัจจัยด้านลักษณะของงาน (r = 0.720) และปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (r = 0.682) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านความสำเร็จของงานมีความสัมพันธ์น้อยที่สุด (r = 0.639) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ   ที่ระดับ 0.01 (Sig = 0.000) (3) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากร  บุคคลร้อยละ 70.8 (Adjusted R2 = 0.708) เมื่อปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น 1 หน่วย  ประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคลจะเพิ่มขึ้น 1.021 หน่วย (b = 1.021, Beta = 0.841) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Sig = 0.000)

References

กรุงเทพมหานคร. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 – 2575). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2565). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

ทศพร ทรงเกียรติ. (2554). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านภูมิสารสนเทศ ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคเหนือ) จังหวัดลพบุรี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิตยา นาคมะณี และราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/246240/167798

วาสนา พัฒนานันท์ชัย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมถวิล วิจิตรวรรณา. (2565). สถิติความสัมพันธ์: เลือกใช้อย่างไร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ, 8(2), 11.

สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565 สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

เผยแพร่แล้ว

11-04-2023

How to Cite

รักษาเมือง เ. ., & บุญเหลือ ณ. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 319–341. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1881