บทบาทและการรักษาอำนาจของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองในเมียนมา ตั้งแต่ ค.ศ. 1948-2010

ผู้แต่ง

  • ธนันท์วัฒน์ สภานุรัตน์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
  • กฤติธี ศรีเกตุ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พัด ลวางกูร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง

คำสำคัญ:

เมียนมา, ทหาร, ผู้ไกล่เกลี่ย, ผู้พิทักษ์, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ที่มา ปัจจัยสิ่งแวดล้อมของการได้อำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมือง และศึกษาบทบาทและการรักษาอำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองของเมียนมา ช่วง ค.ศ. 1948-2010 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา สำรวจข้อมูล หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนาเสนอในรูปแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า การได้อำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองเกิดจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความเชื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง การตกเป็นอาณานิคมและการเมืองโลก จึงทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจการเมืองของกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่อดีตอย่างต่อเนื่อง โดยมีทหารเข้ามาชิงอำนาจทางการเมืองเช่นเดียวกับชนชั้นนำทางการเมืองอื่นๆ นอกจากนี้บทบาทและการรักษาอำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองของเมียนมา ช่วง ค.ศ. 1948-2010 โดยใช้ทฤษฎีของเอริค นอร์ดลินเจอร์ เป็นกรอบการวิเคราะห์แล้วพบว่า การได้อำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองของเมียนมา แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1) ช่วง ค.ศ. 1948-1962 ช่วงการเป็นรัฐชาติเอกราช การเมืองภายในมีความผันผวน ปัญหาเชื้อชาติและอุดมการณ์ทางการเมือง รัฐสภาไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งรัฐบาลพลเรือนของนายอู นุ ไร้เสถียรภาพ เกิดความแตกแยกในประเทศ จำต้องอาศัยความเข้มแข็งของกองทัพหรือทหาร (Tatmadaw) เข้ามารักษาดุลยภาพทางการเมือง ซึ่งอยู่เบื้องหลังในฐานะ “ผู้ไกล่เกลี่ย” 2) ช่วง ค.ศ. 1962-1988 หลังจากได้รับชัยชนะและกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง นายอู นุ ไม่สามารถรักษาอำนาจของตนไว้ เนื่องจากกองทัพได้รัฐประหารทาให้นายพลเนวินซึ่งเป็นผู้นำกองทัพขึ้นปกครองประเทศตลอดระยะเวลาดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ช่วงนี้ทหารได้เข้ามามีบทบาทนาในทุกมิติของสังคม โดยเฉพาะด้านการเมือง จึงทาให้บทบาทของทหารในช่วงเวลานี้มีฐานะ “ผู้ปกครอง” และ 3) ช่วง ค.ศ. 1988-2010 รัฐบาลทหารของเมียนมาถูกกดดันจากโลกตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเกิดการต่อต้านขึ้นภายในจากนักศึกษา ส่งผลให้นายทหารรุ่นใหม่ยึดอำนาจจากนายพลเน วิน ซึ่งปรับบทบาทกองทัพเพื่อธารงอำนาจทางการเมืองของตนให้คงอยู่ จึงร่างและใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2008 เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจทางการเมืองของทหาร เมื่อเกิดการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองจากรัฐบาลทหารไปยังรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไป ปี ค.ศ. 2010 ภายใต้รัฐธรรมนูญทหาร ทหารหรือกองทัพยังได้กำหนดให้ตนเองดำรงอยู่อานาจต่อไปในฐานะ “ผู้พิทักษ์” ของประเทศเมียนมานั่นเอง
 

References

กฤติธี ศรีเกตุ. (2564). นัตพม่ากับการเมืองวัฒนธรรม: ความสัมพันธ์เชิงอานาจทางการเมืองวัฒนธรรมในพื้นที่ความเชื่อเรื่องนัตในประเทศเมียนมา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 9(5), 1,820-1,839.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2544). พม่า: ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ลลิตา หาญวงษ์. (2563, กุมภาพันธ์ 14). ไทยพบพม่า ตอน ออง ซาน กับรัฐพม่าสมัยใหม่ (5). ค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1967470

วาทิน ศานติ์ สันติ. (2556). พม่า: ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และปัญหาการภายหลังได้รับเอกราช. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/309090.

วิรัช นิยมธรรม. (2554). มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

วีรศักดิ์ ฉัตรรุ่งนพคุณ. (2561). การรักษาอานาจของรัฐบาลทหารเมียนมา ค.ศ. 1988-2008. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะสังคมศาสตร์.

ศิลปวัฒนธรรมออนไลน์. (2565). 2 มีนาคม 1962 “เนวิน” ทารัฐประหาร เปลี่ยนพม่าเป็น “ฤาษีแห่งเอเชีย”. วันนี้ในอดีต. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_6966

เอนกชัย เรืองรัตนากร. (2563). ธุรกิจกองทัพกับการเปลี่ยนผ่านการทางเมืองในเมียนมา ค.ศ. 1958-2020. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alfred, S. (1973). Authoritarian Brazil: Origins, politics, and future. New Haven, CO: Yale University Press.

Arendshorst, J. (2009). The dilemma of non-interference: Myanmar, human rights, and the ASEAN charter. Journal of Northwestern Journal of International Haman Rights, 2(2), 101-121.

Callahan, M. P. (2003). Making enemies: War and state building in Burma. New York: Cornell University Press.

Charney, M. W. (2009). History of modern Burma. London: Cambridge University Press.

Crouch, M. & Ginsburg, T. (2016). Between endurance and change in South-East Asia: The military and constitutional reform in Myanmar and Thailand. International Institute for Democracy and Electoral Assistance.

Finer, S. E. (2006). The man on horseback: The role of the military in politics. New York: Praeger.

Kudo, T., & Kumagai, S. (2011). The United States and Japan: Assisting Myanmar’s development. Washington, DC: Sasakawa Peace Foundation.

Martin, M. F. (2010). Burma’s 2010 elections: Implications of the new constitution and election laws. Washington, DC: Congressional Research Service.

Moe, K. Z. (2017). Author discusses martyrs’day assassination of Aung San. Yangon, Myanmar: The Irrawaddy.

Nordlinger, E. A. (1977). Soldiers and politics: Military coups and governments. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Oo, Z. N. (2018). Myanmar parliaments can change really democracy. Retrieved March 8, 2020, from https://www.academia.edu/9834322 /Myanmar_Parliament/can/really/change

Silverstein, J. (1977). Burma: Military rule and the politics of stagnation. London: Cornell University Press.

Taylor, E. M. (2013). Nations on the move: Burmese migration to Australia. School of Historical and Philosophical Studies, Faculty of Arts, The University of Melbourne.

เผยแพร่แล้ว

11-04-2023

How to Cite

สภานุรัตน์ ธ., ศรีเกตุ ก. ., & ลวางกูร พ. . (2023). บทบาทและการรักษาอำนาจของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองในเมียนมา ตั้งแต่ ค.ศ. 1948-2010. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 152–184. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1859