การนำนโยบายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนไปปฏิบัติ

กรณีศึกษา สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • กัญญ์ประภัสสร์ โซ๊ะมาลี นักศึกษา โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิริลักษม์ ตันตยกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การนานโยบายไปปฏิบัติ, การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย, ประสบความสำเร็จ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการนำนโยบายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนไปปฏิบัติ ความสำเร็จของนโยบาย และแนวทางพัฒนาการนำนโยบายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนไปปฏิบัติ โดยใช้วิธีวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จานวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการนำนโยบายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนไปปฏิบัติเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการบรรลุความสำเร็จของนโยบาย จากการแปลงนโยบายจากระดับมหภาคลงมาสู่ระดับจุลภาคเป็นแผนปฏิบัติการที่มีกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุยังเจตจำนงค์และวัตถุประสงค์ของนโยบาย ควบคู่ไปกับการพัฒนาปรับปรุงโดยนำวงจรการบริหารงานคุณภาพ หรือ PDCA มาใช้เพื่อให้นโยบายดำเนินไปอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ซึ่งกระบวนการดำเนินนโยบายนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จของนโยบาย ได้แก่ ปัจจัยด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านการกำหนดภารกิจและมอบหมายงาน ด้านมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ด้านระบบการวัดผลและประเมินผลงาน และด้านมาตรการในการให้คุณให้โทษ ซึ่งกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้การนานโยบายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนไปปฏิบัติประสบความสำเร็จและบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก ที่ระดับ 5 คะแนน ทุกตัวชี้วัด (KPI)

References

จุมพล หนิมพานิช. (2554). การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ มุมมองในทัศนะทางรัฐศาสตร์ การเมือง และรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหาร และกรณีศึกษาของไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

ธันภัทร โคตรสิงห์. (2556). การนำนโยบายโฉนดที่ดินไปปฏิบัติ. ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566, จาก

http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2556/b183163.pdf

พูนทรัพย์ ราชวังเมือง. (2559). ปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลวในการบริหารจัดการ เรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ของกรุงเทพมหานคร: กรณีศูนย์รับแจ้งทุกข์ 1555. ค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2566,

https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5803010718_6193_5108.pdf

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ, (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. (2565). สืบค้น 30 เมษายน 2566, จาก

https://www3.ago.go.th/center/wp-content/uploads/2022/02/หนังสือแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ-/2565.pdf

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2555). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ, (พิมพ์ครั้ง ที่ 25). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เสมาธรรม.

อลิสรา กังวล. (2559). การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566, จาก https://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/1023/fulltext_is_98.pdf

เผยแพร่แล้ว

16-08-2023

How to Cite

โซ๊ะมาลี ก. ., & ตันตยกุล ศ. . (2023). การนำนโยบายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสงขลา. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(2), 374–402. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1841