ขบวนการเคลื่อนไหวภายใต้ยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ: กรณีศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่คัดค้านผังเมืองอีอีซี พ.ศ. 2562
คำสำคัญ:
ขบวนการเคลื่อนไหว, โครงการอีอีซี, ผังเมืองอีอีซีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการเกิดขึ้น พัฒนาการ และยุทธวิธีการเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พ.ศ. 2562 และ 2) เพื่อศึกษาข้อจากัดในกระบวนการเคลื่อนไหวภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ผ่านกรอบแนวคิดทฤษฎีทฤษฎีโครงสร้างโอกาสทางการเมือง (Political Opportunity Structure) และการระดมทรัพยากร (Resources Mobilization Theory: RMT) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูล 3 รูปแบบ คือ 1) การวิจัยเอกสาร 2) การวิจัยภาคสนาม 3) การเก็บข้อมูลสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า โครงการอีอีซีเกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งมีการใช้อานาจพิเศษในการดาเนินโครงการอย่างรวดเร็วและปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งการเวนคืนที่ดินและปัญหาสิ่งแวดล้อม อันถือเป็นเหตุผลที่ทาให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นขบวนการเคลื่อนไหวภาคตะวันออก โดยประเด็นที่ยกขึ้นมาต่อต้านคือการ “ยกเลิกผังเมืองอีอีซี” ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า ถึงแม้การเคลื่อนไหวจะไม่ประสบผลสาเร็จเพราะโครงสร้างโอกาสทางการเมืองที่มีข้อจากัดจากรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่ขบวนการเคลื่อนไหวมีการปรับยุทธศาสตร์เพื่อต่อสู้และต่อรอง จนสามารถสร้างแรงสะเทือนให้กับรัฐบาลดังกล่าวทั้งในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่รัฐสภา และพื้นที่ศาลปกครอง
References
เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก. (ม.ป.ป.). อนาคตที่ร่วมกันสร้างสรรค์ ตะวันออกวิถีแห่งความสุข. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/40C1iDX
เทพนคร วรรณมหาชัย. (2559). ยุทธวิธีของขบวนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมในการคัดค้านรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โครงการเขื่อนแม่วงก์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. เชียงใหม่: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สานักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
โพสต์ทูเดย์. (2556). ชาวบ้านชุมนุมค้านสร้างท่าเรือแหลมฉบับเฟส 3. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/3AzF36W
มูลนิธิบูรณะนิเวศ. (ม.ป.ป.). มลพิษที่มาบตาพุด. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/3NfKwai
ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2557). เครือข่ายภาคประชาชนภาคตะวันออก : “การเมืองภาคประชาชน” ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอกพล เสียงดัง. (2550). ผลสะเทือนจากการต่อสู้ของขบวนการคนจนและคนด้อยอานาจในสังคมไทยตั้งแต่ปี 2531–2549. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
EEC Watch. (2562). แถลงการณ์ หยุดผังเมือง EEC. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/3KCjwA3
iLaws. (2562). "EEC" เขตเศรษฐกิจ "พิเศษ" สาหรับใคร? ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://ilaw.or.th/node/5358
Juan Linz. (2511). Dictators and Dictatorships. in N. M. Ezrow & E. Frantz (Eds.), Dictators and Dictatorships: Understanding Authoritarian Regimes and Their Leaders. New York: The Continuum International Publishing Group.
McCarthy, J. D. & Zald, M. N. (1977). Resource Mobilization and Social Movements: A Partial Theory. The American Journal of Sociology. 82(6), 1212-1241.
The Momentum. (2560). จากอีสเทิร์นซีบอร์ดสู่ ‘EEC’: การพัฒนาที่คนภาคตะวันออกไม่มีสิทธิ์เลือก?. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/2Q95wlM
The Momentum. (2562). อีอีซีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน? : บทเรียนจากมาบตาพุด. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/41FLT6t
Tilly, C. (1994). Social Movement as Historically Specific Clusters of Political Performances. Berkeley Journal of Sociology, 38, 1-30.
Tilly, C., & Wood, L. J. (2015). Social movements 1768-2012. London: Routledge.
Yin, R. K. (2014). Case Study Research Design and Methods. Los Angeles: SAGE.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 วรรธนพร ภัทรธรรมกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.