การจัดบริการสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ของเทศบาลตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล นามวงค์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดบริการสาธารณะ, การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแม่มอก กับภาคส่วนต่างๆ 2) ศึกษาผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแม่มอก กับความสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ และผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเข้าถึงบริการที่ผู้สูงอายุพบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสำรวจ เก็บข้อมูลจากผู้บริหารเทศบาล เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 13 คน และผู้สูงอายุ 66 คน

ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบและลักษณะของความร่วมมือ มี 3 รูปแบบ (1) การประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้บริการด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม (2) การประสานความร่วมมือผ่านการประชุม วางแผน และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุ (3) การเข้ามาร่วมมือกันทำงานผ่านการพัฒนาโครงการ การอบรมอาชีพ การดูแลผู้สูงอายุ และสนับสนุนงบประมาณ  2) การดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิต พบว่า คุณภาพชีวิตด้านกิจวัตรประจำวันและสังคมดีขึ้น ส่วนด้านเศรษฐกิจ สุขภาพกายและสุขภาพจิตคงเดิม มีความสอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด คือ ด้านสังคม รองลงมา คือ ด้านกายภาพและเศรษฐกิจ และส่วนมากพอใจในการให้บริการ เช่น การให้คำปรึกษาการปรับปรุงที่อยู่อาศัย 3) ปัญหา อุปสรรค ที่พบจากการเข้ารับบริการ เช่น ด้านงบประมาณ บุคลากร ระบบขนส่งไม่รองรับ สถานที่และขั้นตอนการให้บริการไม่สะดวก โดยมีข้อเสนอแนะในเรื่องการควรเพิ่มงบประมาณและบุคลากร ควรขยายช่องทางประชาสัมพันธ์ และลดขั้นตอน

References

กระทรวงมหาดไทย. (2566, 10 สิงหาคม). ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566. ราชกิจจานุเบกษา, 140(พิเศษ), 1–8.

กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร ปี พ.ศ. 2566 (เฉพาะพื้นที่ตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง). ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566, มิถุนายน). สถิติผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.dop.go.th/%20th/know/side/1/1/2449

กัลยาณี ทองสว่าง. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเคหะชุมชนออมเงิน. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เทศบาลตำบลแม่มอก. (2566ก). แบบขอรับความช่วยเหลือผู้ประสบภัยปัญหาทางสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ลำปาง: ผู้แต่ง.

เทศบาลตำบลแม่มอก. (2566ข). แผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่มอก พ.ศ. 2566–2570. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.maemok.go.th/document/strategic_plan_or_agency_development_plan/8

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2554). การศึกษาและรวบรวมตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.dla.go.th/upload/document/type2/2011/10/9755_2.pdf?time=1466515424798

ปัณณทัต ตันบุญเสริม. (2561). ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางตอนล่างที่ 1. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(1), 127–136.

พวงเพ็ญ จันทร์เสรี. (2564). นโยบายการดูแลระยะยาวและการดำเนินการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. ใน O. Komazawa & Y. Saito (บรรณาธิการ), การรับมือกับการสูงวัยอย่างรวดเร็วในเอเชีย (หน้า 36–44). Jakarta, Indonesia: Economic Research Institute for Asean and East Asia (ERIA).

วรเวศม์ สุวรรณระดา, และคณะ. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการทบทวน สังเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://thaitgri.org/?p=40114

วสันต์ เหลืองประภัสร์, และคณะ. (2555). รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทาง/รูปแบบและวิธีการในการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพัฒน์ ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1–12. (2565). โครงการวิจัยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยในมิติความต่างเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2564. ค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/ebook/2023/20230506145038_72776.pdf

Ansell, C., and Gash, A. (2007). Collaborative governance in theory and practice. Journal of Public Administration Research and Theory, 18(4), 543–571.

สัมภาษณ์ส่วนบุคคล

กลุ่มประชาชนตำบลแม่มอก 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 8 มกราคม 2568

เจ้าหน้าที่เทศบาล 3, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 9 มกราคม 2568

ผู้บริหารเทศบาล 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 9 มกราคม 2568

ผู้สูงอายุ 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 21 มกราคม 2568

ผู้สูงอายุ 2, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 21 มกราคม 2568

ผู้สูงอายุ 3, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 22 มกราคม 2568

ผู้สูงอายุ 4, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 22 มกราคม 2568

ผู้สูงอายุ 5, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 22 มกราคม 2568

ผู้สูงอายุ 6, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 22 มกราคม 2568

หน่วยงานที่ร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือ 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

หน่วยงานที่ร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือ 2, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

หน่วยงานที่ร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือ 3, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

นามวงค์ ณ., & ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ศ. . (2025). การจัดบริการสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ของเทศบาลตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 470–503. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1737