กระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อสำเร็จของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ เร่งเร็ว นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พนม กุณาวงค์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

กระบวนการจัดการความรู้, ปัจจัยความสำเร็จ, ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ (KM) ในด้านองค์ความรู้และด้านบุคลากร ส่งผลต่อความสำเร็จของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลจำนวน 14 คน

          ผลการวิจัยพบว่าการจัดการความรู้ในด้านองค์ความรู้ และในด้านบุคลากรมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของฝ่ายการพยาบาล โดยการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกิดจากการวิเคราะห์บริบท ข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ และการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานได้พัฒนาโปรแกรม META KM เพื่อจัดเก็บและจัดหมวดหมู่ความรู้ และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ฝ่ายการพยาบาล พร้อมเน้นการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติผ่านแนวทางที่อิงหลักฐาน(Evidence - based practice) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนทางวิชาชีพ รวมทั้งหน่วยงานยังส่งเสริมนโยบายการบริหารความหลากหลาย ความเสมอภาค การมีส่วนร่วมยอมรับความแตกต่าง และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร และความยืดหยุ่น (DEIBF)  ใช้ความรู้ใน META KM เป็นแหล่งข้อมูลในการสนับสนุนการโค้ช การตัดสินใจด้วยข้อมูล และการแก้ไขความขัดแย้ง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้รับการส่งเสริมผ่านการพัฒนาทัศนคติแบบเติบโต (Growth mindset) และเปิดกว้าง (Open mindset) รวมถึงการวางแผนอย่างเป็นระบบผ่านกิจกรรมและการทำงานในรูปแบบคณะกรรมการ กระบวนการจัดการความรู้เหล่านี้ช่วยให้ฝ่ายการพยาบาลสามารถบริหารจัดการองค์ความรู้ได้อย่างเป็นระบบ ยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วย และพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความสามารถตามมาตรฐานสากล

References

กิตติศักดิ์ แดงแท้. (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567, จาก https://library.tru.ac.th/thesis/uploads/2023-10-24-13-49-17-2023-10-24-13-45-

งานบริหารงานบุคคล. (2567). เกี่ยวกับหน่วยงาน-ประวัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567, จาก https://w1.med.cmu.ac.th/personnel/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4/#

ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์. (2552). ทฤษฎีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

นุษรา โพธิ์พัฒนชัย. (2564). การศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567, จาก

https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/ 123456789/ 1368

ปลื้มจิตต์ นราภิรมย์ขวัญ. (2558). การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567, จาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/159930.pdf

พนิดา มากสมบัติ.(2560) การจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567, จาก

https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/6895/1/Fulltext.pdf

ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์. (2567). Nursing Learning Centre. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567, จาก

https://w2.med.cmu.ac.th/nd/excellence-nursing/

สาคร ด้วงศรี. (2562). ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านการบันทึกข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างสำหรับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ = Operational knowledge on purchase requisition and purchase order for Chiang Mai University staff (พิมพ์ครั้งที่ 1). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อานนท์ เถาสุวรรณ์. (2566). กระบวนการจัดการความรู้ที่นำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567, จาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/5108/1/TP%20HOM.015%202566.pdf

อาทิตยา คงเมือง. (2566). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลในอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2567, จาก https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/18112/1/6410521547.pdf

อิทธิกร ตานะโก. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ในสถาบัน อุดมศึกษากรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2567, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5203031330_4637_3383.pdf

Hayward, S. (2000). Knowledge Management: Taxonomy, Processes, and Components. Cited in Serban, A. M., & Luan, J. (2002). Overview of knowledge management. New Directions for Institutional Research, 113(Spring), 5-16. Retrieved November 20, 2024 , from https://www.uky.edu/~gmswan3/575/Serban_and_Luan_2002.pdf

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

เร่งเร็ว อ., & กุณาวงค์ พ. . (2025). กระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อสำเร็จของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 371–409. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1693