ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิง ทัณฑสถานหญิงกลาง
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การกระทำผิดซ้ำ, ผู้ต้องขังหญิงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำศึกษาปัญหาและอุปสรรค และศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคตลอดจนข้อเสนอแนะที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้วิธีวิจัยเอกสารและวิจัยสนามในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 7 ราย การวิจัยนี้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบการที่องค์การจะบรรลุหรือสำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมายและเกิดประสิทธิผล ของ Arnold and Feldman ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงทัณฑสถานหญิงกลาง ได้แก่ 1) การเจริญเติบโตขององค์การ
2) ความสามารถของการปรับตัว ขององค์การ 3) การได้มาของทรัพยากร 4) ผลิตภัณฑ์การให้บริการ 5) นวัตกรรม 6) ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการและความพึงพอใจ ซึ่งเป็นความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์การ โดยมีปัญหาและอุปสรรคที่เป็นข้อจำกัดต่อประสิทธิผลในด้านสภาพแวดล้อมหลังพ้นโทษ ด้านการประกอบอาชีพ การขาดระบบติดตามช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงปัญหาด้านสังคม ตลอดจนข้อเสนอแนะจากการวิจัยประกอบด้วย การจำแนกและประเมินผู้ต้องขังเป็นรายบุคคลในการฟื้นฟู การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และการสนับสนุนหลังพ้นโทษ รวมถึงการพัฒนาระบบและนโยบาย
References
กรมราชทัณฑ์. (2567). รายงานติดตามสถานการณ์กรมราชทัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2567, จาก http://www.correct.go.th/stathomepage/
กิ่งกาญจน์ เพชรานันท์. (2565). การศึกษาการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ กรณีศึกษา สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.
จิรวุฒิ ปุญญาสวัสดิ์. (2564). การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฉัตรชัย นาถ่ำพลอย. (2562). การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสังคมปัจจุบัน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(3), 171 - 178 .
ธนากร ถีติปริวัตร และ ธาตรี มหันตรัตน์. (2566). แนวทางการป้องกันการกระทําผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 4(2), 154-163.
พัฐสุดา ชูติกุลัง นฤนาท ยืนยงและธนกฤต โพธิ์เงิน. (2566). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรือนจำกลางคลองเปรมกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(3), 206-221.
พรวิไล อุ้ยดำรงธรรม. (2564). การเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังก่อนปล่อยตัวสู่สังคมในประเทศไทย. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 3(2), 34 – 47.
วรปพัฒน์ มั่นยา. (2563). สาเหตุและแนวทางการป้องกันการกระทาผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดีลักทรัพย์: กรณีศึกษาเรือนจาจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2567). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทาง รัฐประศาสนาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
สุภชาติ สิงห์สำโรง. (2562). เทคนิคการสร้างประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์กับองค์การ. Journal of Modern Learning Development 4(1), 43 – 58.
สุภาภรณ์ วงศ์กรเชาวลิต. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของจิตอาสาในองค์การไม่แสวงหา ผลกำไร กรณีศึกษา: มูลนิธิแสงธรรมส่องหล้า. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อ้างอิงการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 1, ผู้อำนวยการส่วนสวัสดิการผู้ต้องขัง, สัมภาษณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 2, หัวหน้าศูนย์เตรียมความพร้อมก่อนปล่อย, สัมภาษณ์วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 3, นักสังคมสงเคราะห์, สัมภาษณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 4, นักจิตวิทยา, สัมภาษณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 5, ผู้ต้องขังหญิงกระทำผิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง, สัมภาษณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 6, ผู้ต้องขังหญิงกระทำผิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง, สัมภาษณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคนที่ 7, ผู้ต้องขังหญิงกระทำผิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง, สัมภาษณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 พิมพ์พิชชา เพ็ชรประสม, วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.