ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่)
คำสำคัญ:
ความผูกพันองค์กร, ปัจจัยด้านองค์กร, พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) และ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการสร้างความผูกพันองค์กรของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมประกอบด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ จำนวน 100 คน และ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน ได้แก่ อายุการทำงาน และปัจจัยองค์กร 5 ด้าน ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน (2) สัมพันธภาพภายในองค์กร (3) ความก้าวหน้าในงาน (4) สวัสดิการและค่าตอบแทน และ (5) ความมั่นคงในอาชีพ ทั้งหมดมีความสัมพันธ์กันระดับความผูกพันต่อองค์กรในระดับมาก ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร และลดปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อความผูกพันดังกล่าว
References
กระทรวงการคลัง.ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2567). ประวัติธนาคารและจุดเริ่มต้นของธอส. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2568, จาก https://www.ghbank.co.th/about/history
คนธรัตน์ อ้นขวัญเมือง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันธ์ในองค์การของบุคลากร: กรณีศึกษาสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2567). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
ทิพย์ชนก เสนผดุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมการข้าว. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปนัดดา โตกำและณัฐพงศ์ บุญเหลือ. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยานสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. วารสารรามคำแหงฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 7(2), 332-365.
ปาริชาติ พงษ์ชัยศรี. (2552). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมสรรพากร ภาค 5. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ลลิตา จันทร์งาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่กลุ่มลูกค้าบุคคล. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วริศรา วิศิษฎ์โสภา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกรุงไทยสำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิภารัตน์ ชาฎา. (2566). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2567). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
วิไลวรรณ ศรีสงคราม. (2547). แรงจูงใจ: รากฐานในการพัฒนาศักยภาพของบุคคล. ปทุมธานี: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
สุชาดา พรมรักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารกสิกรไทยจำกัด(มหาชน) เขต14. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวรรณี แสงมหาชัย. (2565). องค์การและการจัดการ(พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุษณะ อำนาจสกุลฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Rosenthal, J. A. (2001). Statistics and Data Interpretation for the Helping Professions. Belmont, CA: Wadsworth/Thomson Learning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 พรนภา ดาวฮามแป, ณัฐพงศ์ บุญเหลือ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.