การบริการสาธารณะแนวใหม่
ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการให้บริการสาธารณะแนวใหม่ ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะแนวใหม่ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาการให้บริการสาธารณะแนวใหม่ ของสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการให้บริการสาธารณะของสำนักงานเขตสวนหลวง สอดคล้องกับแนวคิดของ Denhardt and Denhardt (2008) ที่ว่าการบริการสาธารณะแนวใหม่เป็น
เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีลักษณะสำคัญ 7 ประการดังนี้ 1.1) บริการรับใช้พลเมือง ไม่ใช้ลูกค้า 1.2) การค้นหาผลประโยชน์สาธารณะ 1.3) ให้คุณค่าความเป็นพลเมืองมากกว่าการเป็นผู้ประกอบการ 1.4) คิดเชิงกลยุทธ์และปฏิบัติแบบประชาธิปไตย 1.5) การตระหนักว่าความรับผิดชอบไม่ใช่เรื่องง่าย 1.6) การให้บริการมากกว่าการกำกับทิศทาง 1.7) ให้คุณค่ากับคนไม่ใช่แค่ผลผลิต 2) ประชาชนมีความพึงพอใจต่อวิธีการบริการสาธารณะแนวใหม่ ของสำนักงานเขตสวนหลวง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ของ Denhardt and Denhardt (2008) เช่น เข้าถึงบริการง่ายขึ้น, ความรวดเร็วในการให้บริการ, ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างตรงจุด เคารพสิทธิและความเป็นธรรมของประชาชนโดยไม่เน้นการหากำไรหรือผลประโยชน์เหมือนผู้ประกอบการ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และ 3) แนวทางในการพัฒนาการให้บริการสาธารณะแนวใหม่ ของสำนักงานเขตสวนหลวง สอดคล้องกับแนวคิดของ Denhardt and Denhardt (2008) ดังนี้ 3.1) มีการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล 3.2) การบริการที่เข้าถึงง่าย เพิ่มการบริการที่สะดวก 3.3) การปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน 3.4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัย 3.5) การมีส่วนร่วมของประชาชน
References
ฐิติกาญจ์ จำปา. (2567). การบริการสาธารณะแนวใหม่มาใช้พัฒนาระบบบริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2567.จาก http://www.pol.ru.ac.th/graduate/index.php/is/trang/ trang2-66/6524802247
เดช อุณหะจิรังรักษ์. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธ์. (2556). แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการบริการสาธารณะ.เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการบริการสาธารณะ Public Service Administration (พิมพ์ครั้งที่3). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
ธัชฎามาศ อุไรวรรณ.(2566).รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะเขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 13 (1), 24-41.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2554). มาตรฐานใหม่ของการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหาหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พยุงศักดิ์ ทราบรัมย์.(2557). การนำแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ไปใช้ในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม2567,จาก https://cuir.car.chula.ac.th/ handle/123456789/46128
วิโรจน์ ก่อสกุล.(2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาองค์การและนวัตกรรมในองค์การ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
วิโรจน์ ก่อสกุล ชลิดา ศรมณี เฉลิมพล ศรีหงษ์ และสิทธิพันธ์ พุทธหุน.(2562). การบริการสาธารณะแนวใหม่ศึกษาเฉพาะกรณีกรุงเทพมหานคร.วารสารรัชต์ภาคย์,13(31), 55-68.
สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2566).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/ Plan13_ DraftFinal.pdf
Denhardt and Denhardt (2008).กรอบแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่(New public service). สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2567.จากhttps://elcpg.ssru.ac.th/khanthong_ja/pluginfile.php/72/block_html/content/New% 20Public% 20Service.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 นันทนา ชาวยศ, วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.