การออกแบบแพลตฟอร์มการขอคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของเทศบาลตำบลลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • วัชรพงษ์ วรรณโวหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การออกแบบแพลตฟอร์ม, การขอคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน, เทศบาลตำบลลำปางหลวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการ ขั้นตอน วิธีการในการให้บริการคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของเทศบาลตำบลลำปางหลวง 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการยกระดับการให้บริการคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของเทศบาลตำบลลำปางหลวง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีขั้นตอนวิธีการวิจัยตามกระบวนการหลักการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Method) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารเทศบาลตำบลลำปางหลวง 2) หัวหน้าผู้ควบคุมกำกับดูแล 3) ประชาชนผู้มาติดต่อ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลแบบ สรุปรายบุคคลด้วยเครื่องมือ (persona) แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือแบบวิเคราะห์ 3x3 เมตริก เพื่อจัดแบ่งประเภทและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ผลการวิจัย 1) ผลการศึกษากระบวนการ ขั้นตอน วิธีการในการให้บริการคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของเทศบาลตำบลลำปางหลวง พบว่า ในปัจจุบันเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ยังมีข้อจำกัดในบางขั้นตอนที่ยุ่งยากและซ้ำซ้อน อีกทั้งยังมีช่องทางการให้บริการคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลฯ เพียงช่องทางเดียว คือ ประชาชนต้องเดินทางเข้ามาติดต่อ ด้วยตนเองที่สำนักงานเทศบาลตำบลลำปางหลวง ในวันและเวลาราชการเท่านั้น 2) ผลการศึกษาแนวทางในการยกระดับการให้บริการคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของเทศบาลตำบลลำปางหลวง พบว่า การเพิ่มช่องทางการให้บริการที่เป็นแพลตฟอร์มรูปแบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชั่นไลน์ LINE OA มีการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งานที่สามารถเข้าถึงบริการได้โดยง่าย มีความสะดวกในเรื่องข้อมูลเอกสารที่จำเป็นสำหรับติดต่อขอรับบริการ และมีการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อที่มีความทันสมัย

References

กนกวรรณ ศาลางาม และคณะ. (2567). เว็บแอพพลิเคชันสายบุญ. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/ari/ article/ view/27/408

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2550). มาตรฐานการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการทะเบียนและการอนุญาต. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567, จาก https://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/std210550/7/0.pdf

กระทรวงมหาดไทย (2550). ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.saphalampang.com/downloads/ regulation_map_tax_2550.pdf

จารุวรรณ ขยัน (2553). การพัฒนาระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของเทศบาลตำบลหางดง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567, จาก http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/16774

ณัฏฐพร ผาแก้ว (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567, จาก https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/ 5068/1/ 63090374.pdf

เทศบาลตำบลลำปางหลวง. (2567). เทศบัญญัติ การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของเทศบาลตำบลลำปางหลวง พ.ศ.2567. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567, จากhttps://www.lampangluang-lp.go.th/?page=news&id=128

ปริศนา มั่นเภา และฐิติยา เนตรวงษ์ (2565). เรื่อง ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับธุรกิจบริการในยุคโควิด -19. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567, จาก https://fmsjournal.snru.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/00-เนื้อใน-วารสาร-ปีที่-1-เล่มที่-1-Reprint-Copy-5.pdf

ธรรมนูญ แสนสนาม และเทพ โฆษิตวรวุฒิ. (2567). เรื่อง อิทธิพลของคุณภาพบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการเข้าร่วมและความพึงพอใจของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก.https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/272485/183897

พงษ์ ศิริไพรรุณ. (2565) . กรณีศึกษาการพัฒนาระบบบริหารงานและการให้บริการประชาชนออนไลน์ของเทศบาลตําบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก.http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files /2565_1687859583_6314832055.pdf

มาณวิกา ฉายาพันธุ์. (2561) . เรื่อง การยกระดับการให้บริการของเทศบาลนครขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก.https://casjournal.cas.ac.th/admin/filedocuments/1541920078-2HS036(14-28).pdf

ยศกร วรรณวิจิตร (2565). เรื่อง การประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/download/255046/ 174675

สันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ และคณะ. (2565). เรื่อง การยอมรับแอพพลิเคชันภาครัฐของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน2567, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/download/ 262422/177938/1005993

สุภาพ วงค์พลาย และคณะ. (2567). เรื่อง คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php /NBJ/article/view/270900 /185091

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (2558). พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567, จาก https://www.senate.go.th/commission_meeting/readfile/141821/27630/1765/40313

อารีวรรณ สุขวิลัย และคณะ. (2563) . เรื่อง ความสำคัญของตัวบรรยายเรื่องกับการออกแบบแอพพลิเคชันโมบาย. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน2567, จากhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/243139/164939

อิทธิพล จันทร์รัตนกุล และคณะ. (2564). เรื่อง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน2567, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/download/ 248391/167974

Stevens, E. (2022). What is User Experience (UX) Design? Everything you need to know. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567} จาก https://careerfoundry.com/en/blog/ux-design/what-is-user-experience-ux-design-everything-you-need-to-know-to-get-ztarted/

Stanford d. school (2009). หนังสือ bootcamp bootleg เรื่อง Component to design thinking. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567, จาก https://static.squarespace.com/static/57c6b79629687fde090a0fdd/t/58890239db29d6cc6c3338f7/1485374014340/ METHODCARDS-v3-slim.pdf

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

วรรณโวหาร ว. (2025). การออกแบบแพลตฟอร์มการขอคัดลอกหรือสำเนาข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของเทศบาลตำบลลำปางหลวง จังหวัดลำปาง. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 415–444. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1420