การสร้างความตระหนักรู้เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ของเทศบาลตำบลจอมแจ้ง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อาภัสรา คำจริง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อุดมโชค อาษาวิมลกิจ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความสามารถของผู้นำท้องถิ่น, การสร้างความรับรู้ของประชาชน, การสร้างความตระหนัก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถของผู้นำท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 และ 2) ศึกษาแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น เทศบาลจอมแจ้ง (ขี้เหล็ก) และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 21 คน 

ใช้การวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis) และกลุ่มประชาชน จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถาม โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Sampling Random) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ความสามารถของผู้นำท้องถิ่นในการสร้างความตระหนักรู้ของประชาชน พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยด้านการรับรู้ของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM 2.5 รองลงมา การมีส่วนร่วมของประชาชน ผลลัพธ์จากการดำเนินงานของผู้นำท้องถิ่น และความสามารถในการจัดการของผู้นำท้องถิ่น 2) จากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้นำท้องถิ่นมีการดำเนินการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักในหมู่ประชาชน การสนับสนุนแนวทางการจัดการเชื้อเพลิง และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังไฟป่า มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ และการใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ผู้นำในท้องถิ่นมีส่วนเกื้อหนุนต่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ  และทำงานแบบบูรณาการระหว่างทุกภาคส่วน สร้างความตระหนัก จัดการเชื้อเพลิงอย่างเป็นระบบ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควันอย่างชัดเจน

References

กรมป่าไม้. (2560). ข้อมูลพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่แตงและป่าอินทขิล จังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2567, จาก https://www.forest.go.th/preserve/wp-content/uploads/sites/ 35/2016/ 12/9-ป่าป่าแม่แตงและป่าอินทขิล-จ.เชียงใหม่.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). ปัญหาฝุ่น PM2.5 ต้องการการจัดการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/download /Social/Social_Report/2562_article_q4_003.pdf.

กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). ชุมชนกับการจัดการภัยพิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 20(1), 47–65.

พิชฌ์นิพัทธ์ วิชัยโน, ชลวิทย์ เจียรจิตต์, และสายชล ปัญญชิต. (2565). การรับรู้ความเสี่ยงและผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ของคนเมืองอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสหศาสตร์, 22(2), 23-41.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์โพร จำกัด.

วรินยุพา คงสนุ่น .(2562). บทบาทผู้นำชุมชนในการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหมอกควันของตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 10(1), 51-74.

ศราวุธ อุ่นเรือน, และพัฒนพงศ์ โตภาคงาม. (2563). การบริหารจัดการ และป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารพัฒนาการเรียนรู้ยุคใหม่, 6(3), 1-15.

โศวิภาฎา ไชยสาร. (2562). นโยบายการจัดการมลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

สรรพสิทธิ์ ชมพูนุช, และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). การบริหารจัดการ และป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่นในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น. วารสารพัฒนาการเรียนรู้, 6(3), 1-10.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2567). ภาคเหนือ ฝุ่นหนัก : เปิด 6 ข้อเสนอแก้ปัญหาให้มีอากาศสะอาดได้หายใจ. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2567, จาก https://tdri.or.th/2024/04/pm2-5-solution-northern/.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2560). รายงานการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2567). รายงานสรุปสถานการณ์และมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

คำจริง อ., & อาษาวิมลกิจ อ. . (2025). การสร้างความตระหนักรู้เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ของเทศบาลตำบลจอมแจ้ง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 185–210. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1417