ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารของผู้ใหญ่บ้าน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรพล พรหมเงิน นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พนม กุณาวงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การประชาสัมพันธ์, ช่องทางการสื่อสาร, ผู้ใหญ่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสาร และศึกษาประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารของผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ จำนวน 5 หมู่บ้าน และประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 3 คนต่อหมู่บ้าน ผลการวิจัย พบว่า เครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ผู้ใหญ่บ้านมีการใช้ช่องทางในการสื่อสารกับประชาชน เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การติดประกาศ หอกระจายข่าว และการ

ประชุมประจำเดือนร่วมกับชาวบ้าน ส่วนปัญหาและอุปสรรคการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสาร ผู้ใหญ่บ้านบางท่านอาจขาดทักษะในการสื่อสารเรื่องการพูด การเขียน หรือการใช้เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย อีกทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรืออินเทอร์เน็ตทำให้ช่องทางออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์มีประสิทธิภาพน้อย การขาดความรู้การใช้เครื่องมือหรือช่องทางการสื่อสาร ส่วนประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ มีการใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ทั้งช่องทางดั้งเดิมและช่องทางออนไลน์ ผู้ใหญ่บ้านส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยและภาษาในท้องถิ่นที่ชาวบ้านเข้าใจง่าย ความสามารถในการรับสารของชาวบ้าน ขึ้นอยู่กับลักษณะของชุมชนและบริบทของพื้นที่ แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพของการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของผู้ใหญ่บ้าน ควรจัดอบรมเพิ่มเติม ความรู้ ทักษะ ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และอบรมการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ใหญ่บ้าน เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.(2559). พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. ค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567, จาก https://multi.dopa.go.th/pab/laws/cate8/view5.

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชนโดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์. (2543). ปั้นสมองของชาติ: ยุทธศาสตร์ ปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

จิราวรรณ ยิ้มปลื้ม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.). การศึกษารายบุคคลนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จิราภรณ์ ศรีนาค. (2566). การวิเคราะห์ประเภท รูปแบบ เนื้อหา และวิธีการใช้สื่อของสังคมออนไลน์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุรีพร กินรี. (2566). ประสิทธิภาพการสื่อสารของผู้ใหญ่บ้านจากการรับรู้ของประชาชนในตำบลคลองหอยโข่งอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชนัญชิดา เนตรประสาท. (2563). ประสิทธิภาพการใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารภายในเขตสุขภาพที่ 1. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐพล ใจจริง. (2561). สถานะทางความรู้ว่าด้วยกำเนิดการปกครองท้องถิ่นไทย: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับแนวพระราชดำริด้านการปกครองท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1), 166-180.

นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2544). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 27 (2) ,61-73.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์โพร จำกัด

บรม มณียศ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ข่าวสารของประชาชนผ่านการสื่อสารของผู้ใหญ่บ้านในอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รินรดา มะอาลา, สุภาภรณ์ ศรีดี และวิทยาธร ท่อแก้ว. (2564). การประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 299-314.

วันชัย มีชาติ. (2548). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วัฒณี ภูวทิศ. (2557). บทบาทเชิงจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 15(1), 98-107.

สกุลรัตน์ แจ้งหิรัญ. (2561). การสื่อสารระหว่างบุคคลมีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิด และทฤษฎี. (พิมพ์ครังที 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

อัฐภร ยาดี. (2564). บทบาทและการทำหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพ.ศ. 2564 กรณีศึกษา จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Berlo, D.K. (1960). Communication: The social matrix of psychiatry. New York : W. W. Norton.

Gunawong, P. and Leerasiri, W. (2022). Information Sharing in Solving an Opium Problem: Multiple-Agency Management with Integration of Online and Offline Channels. Sustainability 2022, 14(13), 1-27.

Lasswell, Harold D. (1948). The communication of ideas. New York: Harper and Brother.

Shannon, C. and Weaver, W. (1949). The Mathematical Theory of Communication. Champaign, IL.: University of Illinois Press.

สัมภาษณ์ส่วนบุคคล

ผู้ใหญ่บ้านพื้นราบ 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 27 ธันวาคม 2567

ผู้ใหญ่บ้านพื้นราบ 2, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 28 ธันวาคม 2567

ผู้ใหญ่บ้านพื้นราบ 3, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 28 ธันวาคม 2567

ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่สูง 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 29 ธันวาคม 2567

ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่สูง 2, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 29 ธันวาคม 2567

ประชาชนในหมู่บ้านพื้นที่ราบ 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 27 ธันวาคม 2567

ประชาชนในหมู่บ้านพื้นที่ราบ 2, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 29 ธันวาคม 2567

ประชาชนในหมู่บ้านพื้นที่ราบ 3, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 28 ธันวาคม 2567

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

พรหมเงิน ว., & กุณาวงค์ พ. (2025). ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารของผู้ใหญ่บ้าน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 348–383. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1408