ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับห้าดาวในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เอก ชุณหชัชราชัย มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจในการทำงาน, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ (1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานในธุรกิจโรงแรมที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ทั้งเพศชายและหญิง โดยเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการซึ่งทำงานอยู่ในธุรกิจโรงแรม กลุ่มตัวอย่างเลือกจากพนักงานระดับปฏิบัติการซึ่งทำงานอยู่ในธุรกิจโรงแรมระดับห้าดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วน

ใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.50 อายุระหว่าง 21 - 30 ปี ร้อยละ 59.50 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 79.75 สถานภาพโสด ร้อยละ 68.75 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 47.25 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในแผนกขายและการตลาด ร้อยละ 30.75 และมีอายุการทำงานระหว่าง 1 – 5 ปี ร้อยละ 50.75 ผลการทดสอบสมติฐานพบว่า ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยค้ำจุนด้านค่าจ้างและสวัสดิการ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุปแล้วผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าองค์การควรให้ความสำคัญกับแผนการพัฒนาและการเติบโตของพนักงานรวมไปถึงค่าตอบแทนที่สามารถแข่งขันได้ภายในอุตสาหกรรมบริการด้วยกัน

References

กิติดา เย็นคํา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จํากัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชณัฐกานต์ ม่วงเงิน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานไปรษณีย์ สำนักงานไปรษณีย์เขต 6. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทวีพงษ์ หินคำ. (2541). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการควบคุมการจราจรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนียา ปัญญาแก้ว. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานของ ข้าราชการครู ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพ ฯ: พัฒนาศึกษา.

มัณฑิรา มาศเมธา. (2557). ปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อการคงอยู่ของพนักงานโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุกัญญา จอมคีรี และ นฤนาถ ศราภัยวานิช. (2564). แรงจูงใจในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลราชเวช เชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7(4), 124-132.

Campbell, R. F. (1976). Administration Behavior in Education. New York: McGraw – Hill.

Grant, R.M. (2016). Contemporary strategy analysis: Text and Cases (10th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Herzberg, F. (1968). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

Morse, N. C. (1955). Satisfaction in the White Collar Job. Michigan: University of Michigan Press.

Vroom, V. H. (1964). Management and Motivation. London: Penguin Books.

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

ชุณหชัชราชัย เ. (2025). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมระดับห้าดาวในกรุงเทพมหานคร. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 256–281. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1329