รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
เศรษฐกิจชุมชน, การพัฒนาจังหวัด, นครปฐมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม และด้านบริการ 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน พบว่า ปัจจัยดังกล่าว ประกอบด้วย 3 มิติสำคัญ คือ (1) มิติด้านการพัฒนาคน (2) มิติด้านเศรษฐกิจ และ (3) มิติด้านสิ่งแวดล้อม 3) แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน แนวทางดังกล่าวควรเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่เกี่ยวกับมิติด้านการพัฒนาคน มิติด้านเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม และต้องไม่ละเลยมิติด้านเครือข่าย เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงทำให้เกิดเครือข่ายที่หลากหลายในการอาศัยเครือข่ายเหล่านั้น เสริมพลังการพัฒนาให้เข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งภาคเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ภายในจังหวัด โดยต้องเป็นการพัฒนาที่ดำเนินไปอย่างพร้อมเพียงกัน ไม่เป็นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งจนละเลยปัจจัยด้านอื่นๆ
References
กาญจนา รอดแก้ว และคณะ. (2564). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. สถาบันพระปกเกล้า, 19(1), 48-66.
เทศบาลนครนครปฐม. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลนครนครปฐม (พ.ศ.2566-2570) แก้ไขครั้งที่ 8/2565. นครปฐม: ผู้แต่ง.
นฤชา โฆษาศิวิไลซ์ และคณะ. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายพลังสังคมเชิงบูรณาการในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(38), 105-118.
พระนำโชค อานนฺโท (ทองดี). (2560). การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืนของ ภาครัฐและภาคประชาชนในตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชราวลัย ศุภภะ. (2561). เครือข่ายการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนต้นแบบในองค์กรชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 69-80.
มะรอมือลี สิกะ และคณะ. (2566). บทบาทของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นในเทศบาลตำบลท่าสาป. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 14 (หน้า 1007-1020). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สิริยา รัตนช่วย. (2560). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้พลวัตของโลกยุคใหม่. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 72-87.
สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). นครปฐม: ผู้แต่ง.
สำนักงานเทศบาลนครนครปฐม. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570). นครปฐม: ผู้แต่ง.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (3) ประเด็นการเกษตร (พ.ศ. 2561 - 2580). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สำนักงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม. รายงานความเคลื่อนไหวการลงทุน เดือนพฤศจิกายน 2566. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2567 จาก https://nakhonpathom.industry.go.th/th/cms-of-66
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 รพีพัฒน์ จันทนินทร, บุญวัฒน์ สว่างวงศ์, ขันทอง ใจดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.