การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานราชการ

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพล ศรีหงษ์ นักวิชาการอิสระ
  • วิโรจน์ ก่อสกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เดช อุณหจิรังรักษ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

อิเล็กทรอนิกส์, ารปฏิบัติราชการ, หน่วยงานราชการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครี้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานราชการ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยราชการและแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานราชการ ทั้งนี้ได้เลือกศึกษาหน่วยงานราชการที่มีประชาชนมาติดต่อราชการจำนวนมาก 12 หน่วยงาน เป็นกรณีศึกษา ใช้วิธีวิจัย 2 วิธี คือการวิจัยเอกสาร และการวิจัยสนาม ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง พบว่า 1) วิธีปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์และแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย เช่น ระบบสารบรรณทางอิเล็กทรอนิกส์ การลงเวลาทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์ การลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ การขออนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการคนพิการและผู้สูงอายุทางอีเล็กทรอนิกส์ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ช่องทางการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ครอบคลุมผู้ใช้บริการทุกคน เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานไม่เสถียร พนักงานเจ้าหน้าที่บางส่วนขาดความรู้และทักษะ 3) แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พัฒนาระบบใหม่เพื่อรองรับการบริการใหม่ ๆ พัฒนาพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ มีทักษะในการใช้งานทุกระดับและทุกคน และพัฒนามาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคล เป็นต้น

References

พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565. (2565 ตุลาคม 12), ราชกิจจานุเบกษา, 139(63ก), 1-9.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน. (2554). อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567, จาก https://dictionary.orst.go.th/

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. (2560 เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา, 104(40ก), 1-90.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2560).รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ13 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). แนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566, สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2566, จาก https://opdc.go.th/content/NzgzMA

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). แนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566, สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2566, จาก https://opdc.go.th/content/NzgzMA

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). Government e-Service ยกระดับขีดความสามารถภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชน. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567,จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Digital-Service/The-Power-and-Development-of-Government-e-Services.aspx

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). (2566). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570, (2566 ตุลาคม 24) ราชกิจจานุเบกษา, 140 (48ง), 14.

Babbie, E. (2013). The practice of social research (13th ed.). Toronto, Canada: Wadsworth.

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

ศรีหงษ์ เ. ., ก่อสกุล ว., การะเวกพันธุ์ บ., & อุณหจิรังรักษ์ เ. (2025). การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานราชการ. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 112–141. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1198