ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรกับพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • ยศพล แรกขึ้น นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชุลีวรรณ โชติวงษ์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สุภัททา ปิณฑะแพทย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, ความผูกพันต่อองค์กร, ข้าราชการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ 2) ระดับพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการ 3) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของรูปแบบวัฒนธรรมองค์กร โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 4) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการ โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำคัญของรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรกับระดับพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นข้าราชการที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2543 จำนวน 487 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสถิติ Independent-sample t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำคัญของรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกรูปแบบ โดยวัฒนธรรมองค์กรแบบเครือญาติเป็นรูปแบบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ระดับพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กร ด้านการอุทิศตนเพื่อองค์กร เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3) ข้าราชการที่มีระยะเวลาในการทำงานหรืออายุงานและระดับการศึกษาแตกต่างกันให้ความสำคัญกับรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรแตกต่างกัน 4) ข้าราชการที่มีอายุ ระยะเวลาในการทำงานหรืออายุงาน และตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีระดับพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน และ 5) ระดับความสำคัญของรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรทุกรูปแบบมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรทุกด้าน โดยวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรสูงสุดในทุกด้าน

References

เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชฎาภรณ์ เพียยุระ. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคมจังหวัดสกลนคร. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชิดชนก แตงอ่อน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงงานโรงพยาบาลวิภาวดีกับการแสดงพฤติกรรมด้านสมรรถนะหลัก. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

ดลนภา ดีบุปผา. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในองค์กร ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานกับความผูกพันในองค์กร ของพนักงานบริษัทเอบี ฟู๊ด จังหวัดสมุทรปราการ. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นันทนา มาศภากร. (2561). “ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์ จังหวัดราชบุรี.” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 5 (1), 31-41.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

ปรารถนา ผกาแก้ว. (2561). การรับรู้วัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ และกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในกลุ่มบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา. (13 ตุลาคม 2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). 135(82 ก), 64-71.

ราชกิจจานุเบกษา. (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). 139(258 ง), 132-138.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). “การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ และเครทซี-มอร์แกรน.” วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตวิทยา. 8(1), 11-28.

สนธยา เกรียงไกร ณ พัทลุง. (2557). วัฒนธรรมองค์กรในทัศนะของพนักงานบริษัทในตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สมรักษ์ วิชาชู. (2554). ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2555). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ : การเพิ่มขีดความสามารถ ทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมไทยยุค AEC. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565. จาก http://www.cs.human.ku.ac.th/

สุลีวัลย์ หมีแรตร์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 14 : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กองบริหารวิชาการและนิสิต.

สุวิสา พลายแก้ว. (2557). วัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในกองทัพอากาศ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2564). แผนเสริมสร้างความผูกพันของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565. จาก https://personnel.ops.moc.go.th/th/content/category/

อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์การ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565. จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/ article/view/246209

Alias, N.E., Othman, R. and Romaiha, N.R. (2022). [Serial online]. “The Effects of Organizational Culture on Employee Engagement : A Malaysian Manufacturing Company’s Perspective.” International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. 12(7), 1733-1745.

Daft, R.L. (2018). Organization Theory and Design. Tenth edition. Ohio: South-Western Cengage Learning.

Hewitt, A. (2015). Aon Hewitt’s Model of Employee Engagement. cited 2022 Sep, 15. from http://www.aon.com/human-capital-consulting/thought-leadership/talent/aon-hewitt-model-of-employee-engagement.jsp

Soni, S. (2019). “Impact of Organizational Culture on Employee Engagement and Effectiveness in Indian Manufacturing Company.” IITM Journal of Management and IT. 10(2), 42-52.

เผยแพร่แล้ว

12-12-2024

How to Cite

แรกขึ้น ย. ., โชติวงษ์ ช., & ปิณฑะแพทย์ ส. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรกับพฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 7(3), 281–309. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1168