มูลเหตุจูงใจในการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่น: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ.2555-2563

ผู้แต่ง

  • วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

มูลเหตุจูงใจ, อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่น, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลเหตุจูงใจในการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่น: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ.2555-2563 รวมทั้งศึกษาการดำเนินกิจกรรมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และเสนอแนวทางในการพัฒนาสังคม และพัฒนาการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวง พม.ให้เป็น อพม.ดีเด่น ตั้งแต่ พ.ศ.2565-2563 ใน 8 เขต ของกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่ามีปัจจัยมูลเหตุจูงใจที่กระตุ้นให้คนสมัครเข้ามาเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 5 ด้าน ได้แก่ ความสำเร็จของงาน การที่คนอื่นยอมรับผลงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบงานที่ท้าทายและความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งมีปัจจัยที่เกี่ยวกับงานอีก 8 ด้าน ได้แก่ นโยบายการบริหารของหน่วยงาน การบังคับบัญชา ค่าตอบแทน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความมั่นคงในงาน สถานะของอาชีพ สภาพการทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งตรงกับแนวคิดของเฮอร์ซเบอร์ก วรูม และมาสโลว์ รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของ อพม. เป็นไปตามนโยบายและภารกิจของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่กำหนดให้อาสาสมัครปฏิบัติหน้าที่ 3 ด้าน ได้แก่ 1) การชี้เป้า-เฝ้าระวัง 2) เชื่อมกลุ่มเดิม-เสริมสร้างกลุ่มใหม่ 3) กระตุ้นชุมชนให้ร่วมมือร่วมใจกันระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนของชุมชน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม ในขณะเดียวกันแนวทางในการพัฒนา อพม. ควรรู้บทบาทหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน โดยการเข้าฝึกอบรมและพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตนเอง เพื่อให้การทำงานในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่มีประสิทธิภาพ

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2564). ประกาศกรมการปกครอง เรื่อง แจ้งข้อมูลทางการปกครอง. ผู้แต่ง.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2548. ผู้แต่ง.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.2564. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2565 จาก http:www.ratchakitcha.soc.go.th /DATA/PDF /2564/E/161/T-0001.pdf

คุณานนท์ หมายดี. (2562). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จริยา แดงวันสี. (2556). บทบาท หน้าที่ตามภารกิจของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ของสำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลิดา ศรมณี. (2563.) เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2538). ทฤษฎีองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

วรรณิศา ศรีวงศ์. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดกาญจนบุรี. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโปร่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน) มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุขฤทัย สุขทวี. (2558). การพัฒนาบทบาทใหม่ของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการปฏิบัติงานตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัพพัญญ สังข์ชุม. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติ. กรมคุมประพฤติ กรณีศึกษาอาสาสมัครคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สาทิตย์ รัตนศิริ. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครตำรวจบ้านในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 จาก http://www.thongsook.ac.th.com.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). กำลังคนภาครัฐฝ่ายพลเรือนในปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 จาก https://www.ocsc.go.th.com.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (ศสค.) กระทรวงการคลัง. (2563). บัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 จาก https://www.bankokbiznews.com.

อรนภา อบสุวรรณ. (2557). การปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรสงคราม. สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย พระทัด. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ : กรณีศึกษาชุมชนป้อมมหากาฬ. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารจัดการงานสาธารณะ), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Creswell, J. W. (2007). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Approaches (2nd ed.). Thousand Oaks: Sage Publications.

Frederickson, H. G. (2007). Whatever Happened to Public Administration? : Governance, Governance Everywhere. In E. Ferlie, L. E. Lynn and C. Politt (Eds), Oxford Handbook of Public Management. (pp.282 – 304). Oxford: Oxford University Press.

Herzberg, F. (1982). The Management Choice: To be Efficient and to be Human. Vermont: Salt Lake City, Olympus.

Maslow, A.M. (1965). Eupsychian Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin and The Dorsey Press.

Shafritz, J. M. & Hyde, A. C. (2007). Classics of Public Administration. (6th ed.) Boston, Mass: Wadsworth.

United Nation. (1981). Department of International Economic social Affaire. Popular Participation as a strategy for Promoting Community Level Action and Nation Department. Report of the Meeting for The Adhoe Group of Expert. New York: United Nation.

เผยแพร่แล้ว

12-12-2024

How to Cite

พึงวิวัฒน์นิกุล ว. (2024). มูลเหตุจูงใจในการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่น: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ.2555-2563. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 7(3), 215–249. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1070