“สุนัข” กลายเป็น “หมา”: ข้อสังเกตจากบริบทภาษา สังคม และศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง “สุนัขกลายเป็นหมา : ข้อสังเกตจากบริบทภาษา สังคม และศาสนา” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อสังเกตเกี่ยวกับคำและความหมายของคำศัพท์ภาษาบาลี “สุนัข” (ศุนัก ภาษาสันสกฤต) ตลอดทั้งการใช้คำว่า “หมา” เชื่อมโยงกับบริบทการใช้ในสังคมไทยผ่านสำนวนต่าง ๆ จากการศึกษาข้อมูลทำให้พบว่า คำว่า สุนัข ดั้งเดิมจะเป็นคำที่มีความหมายในเชิงบวก โดยสามารถจำแนกความหมายได้ 5 กลุ่ม คือ 1) สัตว์ที่มีเล็บงาม คือ เป็นสัตว์ไม่ซ่อนเล็บ 2) สัตว์ที่เชื่อฟัง คือ เชื่อฟังคำและคำสั่งเมื่อได้ฟังเสียงของเจ้าของ 3) สัตว์ที่จับกระต่ายเป็นต้น 4) สัตว์ที่มีความว่องไว และ 5) สัตว์ที่มีนิสัยชอบเดินไปเรื่อย ๆ และเนื่องจากพฤติกรรมของสุนัขที่ชอบเดินไปเรื่อย ๆ อย่างอิสระ อาจไปทำบางสิ่งจนทำให้ผู้คนไม่พอใจ ดังนั้น จึงทำให้คนในบริบทสังคมไทยโดยมากมองสุนัขในภาพลบ จนกลายมาใช้คำเรียกสุนัขว่า “หมา” คำนี้มักมีความหมายในเชิงหยาบและไม่สุภาพ เป็นคำไทยซึ่งพบได้เช่นกันในภาษาอื่น ๆ ของภาษาตระกูลไทมีภาษาไทพ่าเก เป็นต้น โดยใช้เปรียบเพื่อบอกถึงบางสิ่งที่ต่ำ เช่นเดียวกับสังคมไทยที่สามารถสังเกตได้จากสำนวนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหมา มีหมาหมู่ เป็นต้น คนไทยส่วนใหญ่จะใช้สำนวนเหล่านี้ในด้านลบ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2513). ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. พระนคร: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ญาดา อารัมภีร. (2564). “จ๋า จ๊ะ วรรณคดี: หมา หรือ คน” มติชน (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2567. เข้าถึงได้จากhttps://www.matichonweekly.com/column/article_472874
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2535). ราชนีติ-ธรรมนีติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วิจิตรมาตรา, ขุน. (2538). สำนวนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สมบัติ พลายน้อย. (2553). เกร็ดภาษาหนังสือไทย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
Boruah, B.K. (2014). Comparative Tai Vocabulary. Dibrugarh: Centre for Studies in Language, Dibrugarh University.
Dhongde, R.V. and Phramaha Wilaisak Kingkham. (1992). “Standard Thai and Tai Phake: A Comparison of Phonology and Morphology (Online).” Accessed 16 June 2024. Available from http://sealang.net/sala/archives/pdf8/dhongde1992standard.pdf
Monier-Williams, M. (2002). A Sanskrit-English Dictionary. Delhi: Motilalbanarasidass.
Raghavan, V. (1961). Sanskrit Literature. Delhi: Government of India Press.
Weingken, N. (2024). Taiphake High and M.P. School’s Teacher. Interview, June 16.
Willem, B.B. (2006). Gone to the dogs in ancient India. Verlag der Bayerischen Akademie der Wissenschaften.