การศึกษาเอกสารตัวเขียนประกาศรัชกาลที่ 4 เรื่อง ประกาศปฏิสังขรณ์วัดไชยพฤกษมาลา วัดเขมาภิรตาราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกสารตัวเขียนประกาศรัชกาลที่ 4 เรื่อง ประกาศปฏิสังขรณ์วัดไชยพฤกษมาลา วัดเขมาภิรตาราม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารทั้งในด้านลักษณะเอกสารและด้านเนื้อหาจากสมุดไทยจำนวน 3 รายการ ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ หมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 หมู่ ไม่ปรากฏ จ.ศ. ได้แก่ สมุดไทยเลขที่ 59 เลขที่ 368 และเลขที่ 462 จากการศึกษาพบว่าสมุดไทยเลขที่ 368 และเลขที่ 462 มีลักษณะเอกสารเป็นต้นร่างประกาศที่บันทึกด้วยลายมือหวัด ส่วนสมุดไทยเลขที่ 59 เป็นลายมือบรรจง ที่อาลักษณ์นำข้อความจากสมุดไทยเลขที่ 368 และ 462 มาเรียบเรียงใหม่ จึงทำให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ที่สุดกว่าฉบับอื่น อีกทั้งยังมีเนื้อหามากกว่าฉบับที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ซึ่งใช้ข้อมูลจากสมุดไทยเลขที่ 368 เป็นฉบับหลัก และในการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ประวัติและรายละเอียดการบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม 4 แห่ง ได้แก่ วัดไชยพฤกษมาลา วัดเขมาภิรตาราม วัดราชสิทธาราม และวัดรัชฎาธิษฐาน นอกจากนี้ในประกาศยังระบุถึงรายละเอียดการฉลอง 4 พระอารามที่ท้องสนามหลวง เมื่อเทียบเหตุการณ์จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 จึงทำให้กำหนดอายุได้ว่าทรงพระราชนิพนธ์ประกาศฉบับนี้เมื่อ พ.ศ. 2406 อีกทั้งข้อความที่ทรงประกาศพระราชอุทิศในตอนท้ายประกาศยังแสดงให้เห็นถึงแนวพระราชดำริทางพระพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นไปที่การดับทุกข์ทั้งปวง มากกว่าการอธิษฐานเพื่อปรารถนาพระโพธิญาณอย่างเช่นพระเจ้าแผ่นดินในยุคก่อน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2509). ประวัติวัดราชสิทธาราม. พระนคร: ศิวพร.
กรมศิลปากร. (2552). คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์. (2525). “บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและอักษร,” ใน ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม 2 ภาษาและวรรณคดีกรุงรัตนโกสินทร์, 18-45. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2547). ประชุมพระราชนิพนธ์ภาษาไทยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มหาเถรสมาคม.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2548). รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องประชุมประกาศรัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2556). ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ภาคปกิณกะ 1. นนทบุรี: ต้นฉบับ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2548). “อธิบายความว่าด้วยประกาศรัชกาลที่ 4” ในรวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องประชุมประกาศรัชกาลที่ 4, 1-3. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2547). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: ต้นฉบับ.
แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว. (2563). การศึกษาวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมเขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2325-พุทธศักราช 2453. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987). (พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี 2563).
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1. (2517). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
ปราณี กล่ำส้ม. (2549). ย่านเก่าในกรุงเทพฯ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์ (2561). การสื่อสารระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนผ่านประกาศพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระปลัดคมศักดิ์ สติสมฺปนฺโน (รุ่งศิริ). (2550). “ภาพสะท้อนและกลวิธีการนำเสนอประชุมประกาศที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศรีสุพร ช่วงสกุล. (2530). “ความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ : ศึกษากรณีธรรมยุติกนิกาย (พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2464).” วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธี เวสารัชกิตติ. (2556). “การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุนทรา แสวงดี. (2539). “วิเคราะห์การใช้ภาษาในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตวิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อรุณี อัตตนาถวงษ์. (2549). “การศึกษาวิเคราะห์หนังสือประทับตรา สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
“แบบวิธีนมัสการต่าง ๆ เป็นลายพระหัตถ์รัชกาลที่ 4.” สมุดไทยดำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นหรดาล. หมวดพระราชพิธี. เลขที่ 1734/1. หอสมุดแห่งชาติ.
“ประกาศฉลองวัดไชยพฤกษมาลาและวัดเขมาภิรตาราม.” สมุดไทยดำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นดินสอ. หมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4. หมู่ ไม่ปรากฏ จ.ศ. เลขที่ 59. หอสมุดแห่งชาติ.
“เรื่องซ่อมแซมวัดไชยพฤกษมาลาและวัดเขมาภิรตาราม.” สมุดไทยดำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นดินสอ. หมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4. หมู่ ไม่ปรากฏ จ.ศ. เลขที่ 368. หอสมุดแห่งชาติ.
“สารตราเรื่องให้หม่อมตุ้มคุมหม่อมหว่าง.” สมุดไทยดำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นดินสอ. หมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4. หมู่ ไม่ปรากฏ จ.ศ. เลขที่ 462. หอสมุดแห่งชาติ.