ค่าวซอตำนานแลส้างวัดสวนดอกไม้นครเชียงใหม่: หลักฐานศาสนศรัทธาภาคประชาชนในการบูรณะวัดสวนดอก พ.ศ. 2474
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาวรรณกรรมเรื่อง ค่าวซอตำนานแลส้างวัดสวนดอกไม้นครเชียงใหม่ โดยใช้ทฤษฎีวิเคราะห์วรรณกรรม ด้วยการศึกษาลักษณะต้นฉบับ คุณค่าของเนื้อหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพสะท้อนสังคมซึ่งทำให้เห็นถึงศาสนศรัทธาภาคประชาชนในการบูรณะวัดสวนดอก พ.ศ. 2474
ผลการศึกษาพบว่าวรรณกรรมเรื่องนี้บันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์อเมริกัน ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์ค่าวซอ มีคุณค่าสำคัญคือการเป็นหลักฐานที่บันทึกถึงเหตุการณ์การบูรณะวัดสวนดอกด้วยความร่วมมือของศาสนศรัทธาภาคประชาชน โดยให้รายละเอียดของเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี ดังประเด็นต่อไปนี้ 1) ลำดับเหตุการณ์ มีการระบุวันเวลาแต่ละเหตุการณ์ได้ชัดเจนและลำดับเหตุการณ์อย่างเป็นระเบียบ 2) ผู้มีบทบาทในการบูรณะ ได้แก่ ประชาชน พระภิกษุ ผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งผู้แต่งให้ข้อมูลของเจ้าภาพในการบูรณะซ่อมสร้างสิ่งต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดทั้งนามเจ้าภาพและถิ่นฐาน แสดงให้เห็นความร่วมมือภาคประชาชนซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานอื่น ๆ และ 3) รายละเอียดการบูรณะ กล่าวถึงขั้นตอนและรายละเอียดการบูรณะซ่อมสร้างพระวิหาร เจดีย์ประธาน เจดีย์ราย และพระพุทธรูปค่าคิงครูบาศรีวิชัย
ค่าวซอเรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่าความร่วมมือของประชาชนเกิดจากความศรัทธาต่อพุทธศาสนา โดยเฉพาะความศรัทธาในครูบาศรีวิชัยผู้เป็นประธานการบูรณะ โดยแสดงทัศนะต่อครูบาศรีวิชัย ได้แก่ 1) เป็นผู้มีความชำนาญในงานบูรณปฏิสังขรณ์ 2) เป็นผู้มีบุญบารมี และ 3) เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผลให้เกิดความร่วมมือในการบูรณะวัดสวนดอกจนประสบผลสำเร็จ
ค่าวซอเรื่องนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่แสดงความร่วมมือของศาสนศรัทธาภาคประชาชนในงานสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะกิจกรรมที่นำโดยครูบาศรีวิชัยได้เป็นอย่างดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คล้อย ทรงบัณฑิตย. (2497). ปฏิทิน 250 ปี พ.ศ. 2304-2555. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ส. ธรรมภักดี.
ธณัชพงศ์ สุพฺรหฺมปญฺโญ, พระมหา. (2559). 644 ปี วัดสวนดอก พระอารามหลวง. เชียงใหม่: วัดสวนดอก พระอารามหลวง.
ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว. (2562). ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่ เชียงตุง. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
ภักดีกุล รัตนา และไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. (2566). “การศึกษาคุณลักษณะของครูบาเจ้าศรีวิชัยในฐานะต้นแบบพลเมืองโลกด้านจริยธรรมและคุณธรรม.” สังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 10, (1): 127-157.
กรมศิลปากร. (2513). ตำนานมูลศาสนา. เชียงใหม่: นครพิงค์การพิมพ์.
กรมศิลปากร. (2551). จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย กรมศิลปากร.
สงวน โชติสุขรัตน์. (2552). ตำนานเมืองเหนือ. นนทบุรี: ศรีปัญญา.
สุนทรพจนกิจ, ท้าว. (2550). ตำนานวัดสวนดอก. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
แสง มนวิทูร. (2518). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: บำรุงนุกูลกิจ.
หนังสือคร่าวซอเรื่องตำนานแลส้างวัดสวนดอกไม้นครเชียงใหม่. (2550). เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2543). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: ตรัสวิน.