กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่ออารมณ์รักแบบไม่สมหวัง ในมิวสิคเพลงลูกทุ่งอีสาน: ไทบ้านเดอะซีรีส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการสื่ออารมณ์รักแบบไม่สมหวังในมิวสิคเพลงลูกทุ่งอีสาน ไทบ้าน เดอะซีรีส์ และเพื่อศึกษาองค์ประกอบของการสื่อสารตามกรอบแนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารของเดลล์ ไฮม์ ผลการศึกษาพบว่ามีการใช้กลวิธีการใช้ภาษา ดังนี้ 1) กลวิธีการใช้คำ 1.1) กลวิธีการใช้คำซ้ำ 1.2) กลวิธีการใช้คำซ้อน 1.3) กลวิธีการใช้คำที่ทำให้เกิดจินตภาพ และ 1.4) กลวิธีการใช้คำที่มีการเล่นจังหวะ 2) กลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่ 2.1) กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ 2.2) กลวิธีการใช้อธิพจน์ 2.3) กลวิธีการใช้ปฏิปุจฉา
องค์ประกอบของการสื่อสารตามกรอบแนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารของเดลล์ ไฮม์ ปรากฏ 1) ฉาก ที่ปรากฏในเรื่องจะประกอบด้วย บ้าน, ห้องนอนของตัวละครเอก, หมู่บ้าน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ, ห้องเรียน, โรงเรียน, บ้านพักครู, วัด, งานศพ, งานแต่ง, ทุ่งนา, กระท่อม (เถียงนา), ป่า, พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและตลาดชุมชน 2) ผู้ร่วมสื่อสาร ที่พบ คือ ตัวละครเอกฝ่ายชาย, ตัวละครเอกฝ่ายหญิง, เพื่อนตัวละครเอกฝ่ายชาย, เพื่อนตัวละครเอกฝ่ายหญิง, แฟนเก่าของตัวละครเอก, นักร้องและชาวบ้าน 3) จุดมุ่งหมาย ที่ปรากฏในการสื่อสารในบทเพลงทั้งหมดเพื่อบรรยายถึงความรักที่ไม่สมหวัง 4) วัจนกรรมที่ปรากฏ ได้แก่ วัจนกรรมบอกรัก, กล่าวลา, ปฏิเสธ, ขอบคุณ, ตัดพ้อ, ขอโทษ, ขอร้อง, ประชดประชัน, สัญญา, ปฏิสันถาร, โอดครวญ, คำถาม, เล่าความและวัจนกรรมกล่าวร้าย 5) น้ำเสียง ของนักร้องและตัวละครส่วนใหญ่ใช้น้ำเสียงระดับกันเอง กล่าวถึงบุคคลอันเป็นที่รัก คร่ำครวญ ขอร้องอ้อนวอน โศกเศร้าเสียใจ รวมไปถึงน้ำเสียงประชดประชัน 6) เครื่องมือ ที่ใช้เป็น การใช้อวัจนภาษา คำร้อง และการปนภาษา 7) บรรทัดฐานการปฏิสัมพันธ์ จะใช้บรรทัดฐานคุณธรรม จริยธรรม การมีปฏิสัมพันธ์เรื่องความจริงใจ ความรัก ความปรารถนาดี รักแรก รักบริสุทธิ์ ความรู้สึกผิด เสียใจและรักสามเศร้า 8) ประเภทการสื่อสาร การใช้ถ้อยคำแบบคำร้อง การสนทนา และคำคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2550). วรรณคดีวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประกายกาวิล ศรีจินดา และคณะ. (2563). “การสื่อสารวัฒนธรรมอีสาน “ไทบ้าน เดอะซีรีส์”.” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 15, (1): 75-76.
บรรจบ พันธุเมธา. (2549). ลักษณะภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สันติ ทิพนา. (2560). “เพลงลูกทุ่งที่มีเนื้อหาขัดศีลธรรมในรอบทศวรรษ พ.ศ. 2550-2559.” วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 14, (1): 11-21.
Hymes, Dell. (1966). “On Communicative Cornpetence.” In the Research Planning Conference on language Development among Disadvantaged Children, Veshiva University. n.p.