คำต่างภาษาในภาษาล้านนา: กรณีศึกษา “พจนานุกรมอังกฤษ-ล้านนา”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์คำต่างภาษาที่ปรากฏในภาษาล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 โดยใช้ข้อมูลภาษาจากพจนานุกรมอังกฤษ-ล้านนา (An English-Laos Dictionary) โดย เดวิด จี. คอลลินส์ ตีพิมพ์ด้วยอักษรธรรมล้านนาโดยโรงพิมพ์มิชชัน เชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. 2449 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ที่มาของคำต่างภาษา และบทบาทของคำต่างภาษาในภาษาล้านนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่มาของคำต่างภาษา พบว่าถ้อยคำภาษาล้านนาที่ถูกนำเสนอเป็นคำแปลของถ้อยคำภาษาอังกฤษนั้นได้รับอิทธิพลของคำต่างภาษา ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาตะวันตกอื่น ๆ ภาษาจีน ภาษาพม่า และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งการรับคำยืมมาจากภาษาต้นทางโดยตรงและรับคำยืมผ่านภาษาไทยอีกทอดหนึ่ง 2) บทบาทของคำต่างภาษา พบว่า คำต่างภาษาที่ปรากฏแสดงบทบาทในภาษาและสังคมล้านนา คือ บทบาทด้านการขยายขอบเขตคำศัพท์ ได้แก่ คำที่ใช้ในชีวิตประจำวันและคำทางศาสนา บทบาทด้านการแสดงลักษณะสังคมได้แก่ คำราชาศัพท์ และบทบาทด้านศิลปะในการใช้ภาษา ได้แก่คำที่เปลี่ยนแปลงเสียงท้ายคำคล้ายการแจกวิภัตติ์และคำซ้อน ซึ่งคำเหล่านี้บางส่วนได้ปรากฏในวรรณกรรมที่ประพันธ์ขึ้นร่วมสมัยกับพจนานุกรม ทำให้เห็นว่าคำต่างภาษาปรากฏบทบาทในภาษาล้านนาในแวดวงและหน้าที่หลายด้าน อันเป็นลักษณะธรรมชาติที่สอดคล้องกับภาษาอื่น ๆ โดยทั่วไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภาษาไทย
กตัญญุตา มณีพงศ์. (2566). “ใบบอกเมืองน่าน : รูปแบบ เนื้อหา และภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรม.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณปกรณ์ จันทร์สมบูรณ์. (2567). “นางจันทลีลาพราหมณี: การวิเคราะห์กลวิธีการแปลจากภาษาอังกฤษสู่ภาษาล้านนา.” ภาษา-จารึก 1, 2: 177–202.
เคอร์นิเลีย แม็คกิลวารี. (2549). หนังสือนัคครคุรุประเทษ. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
จีรยุทธ ไชยจารุวณิช. (2552). วรรณพิมพ์ล้านนา : วรรณกรรมที่ตีพิมพ์ด้วยอักษรธรรมล้านนา 60 เล่ม (เล่ม 10). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ใจ เรืองสี. (2550). ค่าวซอเรื่องจุมปาสี่ต้น. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
ชัยวัฒน์ ปะสุนะ. (2563). “พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยามจากเอกสารมิชชันนารี ค.ศ. 1893-1926.” วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8, 2: 1-19.
บุญลือ ประทุมรัตน์. (2549). ค่าวซอเรื่องพุทธเสนกะ. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว. (2562). ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่ เชียงตุง. สมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ปัน บุญเรือง. (2548). ค่าวซอเรื่องเจ้าสมภมิต. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
ฝีปากไก่แก้ว [นามแฝง]. (2548). ค่าวซอเรื่องจันทฆา. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
พิมพกานต์ สารกูล. (2560). “คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตในวรรณกรรมประกอบพิธีกรรมล้านนา.” ใน อรรถบทภาษาและวรรณกรรม 1,1: 169-180.
พูนพิเลกขกิจ, ขุน. (2549). ค่าวซอเรื่องมหาวงส์แตงอ่อน. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
มุจลินทร์ เพ็ชรรุ่ง. (2553). “การศึกษาบทบาทของชาวจีนใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์.” รายงานการค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศานติ ภักดีคำ. (2549). พจนานุกรมคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย ฉบับฉลองครบรอบ 55 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-กัมพูชา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สยาม ภัทรานุประวัติ. (2546). “ปักษีปกรณัม : การศึกษาเปรียบเทียบฉบับสันสกฤต ล้านนา และไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สยาม ภัทรานุประวัติ. (2549). “นิทานเรื่องเจ้าชายอกตัญญูกับหมี: ร่องรอยนิทานสันสกฤตในล้านนา.” ดำรงวิชาการ 5,1: 49-62.
สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. (2564). “การเปลี่ยนแปลงภาษาของคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตในปัญญาสชาดกฉบับล้านนา.” มนุษยศาสตร์วิชาการ 28, 1: 188-227.
สุริยวงษ์, เจ้า. (2549). ค่าวซอเรื่องหงส์หิน. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, สำนักงาน. (2564). ราชาศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2532). คำจำกัดความศัพท์ในภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารียา บุญลำ. (2559). “คำยืมภาษาตระกูลมอญ-เขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือ.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินทา คะนารี. (2549). ค่าวซอเรื่องเจ้าสุทน. เชียงใหม่: โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
อุบลรัตน์ พันธุมินทร์. (2560). คำม่าน-คำเมือง. เชียงใหม่: ศูนย์เมียนมาร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาษาต่างประเทศ
Collins, David G. (1906). An English-Laos Dictionary. Chieng Mai: Mission press.