องค์ประกอบที่ส่งผลต่อหน้าต่างจัดแสดงผลงานเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาพื้นที่จัดแสดงงานหมู่บ้าน Bát Tràng เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม Effective Composition Design of Cultural Displays: A Case of Bát Tràng Exhibition Space in Hanoi, Vietnam

Main Article Content

สุปรียา ผ่องใส และ ศวิษฐ์ พิริยะสุรวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพื้นที่ภายในนิทรรศการภายใต้หัวข้อ หมู่บ้าน Bát Tràng เพื่อจัดแสดง


ผลงาน และเพื่อรวบรวมข้อมูลทฤษฎีในการออกแบบที่เกี่ยวข้องนำมาประกอบเป็นผลงาน มีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ การศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและทบทวนวรรณกรรม การพัฒนาแบบร่าง การจัดทำแบบ และการจัดทำชิ้นงานจริง โดยเลือกใช้การออกแบบการออกแบบพื้นหลังแบบกึ่งปิด (Semi-Closed-Back Window) การเลือกใช้สีโทนธรรมชาติ และสีสดใสเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับชม มีการกำหนดแสงแบบ Horizontal เลือกใช้วัสดุและการจัดองค์ประกอบที่สื่อสารในเชิงความหมาย จากการศึกษาและออกแบบพบว่าการออกแบบพื้นที่ในรูปแบบพื้นหลังแบบกึ่งปิด (Semi-Closed-Back Window) ส่งผลให้กิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่นิทรรศการยังคงเห็นชัดเจน และวัตถุจัดแสดงในส่วน Window Displays ยังคงใช้เอฟเฟ็กต์ได้ การออกแบบระยะหน้า ระยะกลาง และระยะหลัง ของ Window Displays สามารถสื่อสารให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจเรื่องราวได้ ยกเว้นเรื่องสีที่ไม่สามารถสื่อสารได้ และเกิดการตั้งข้อคำถาม

Article Details

How to Cite
และ ศวิษฐ์ พิริยะสุรวงศ์ ส. ผ. . (2024). องค์ประกอบที่ส่งผลต่อหน้าต่างจัดแสดงผลงานเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาพื้นที่จัดแสดงงานหมู่บ้าน Bát Tràng เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม: Effective Composition Design of Cultural Displays: A Case of Bát Tràng Exhibition Space in Hanoi, Vietnam . วารสารสร้างสรรค์วิจัยสถาปัตยกรรมและการออกแบบ, 1(1). สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JRCAD/article/view/1054
บท
บทความสร้างสรรค์