ทิศทางการพัฒนาไฮโดรเจน: พลังงานทางเลือก สำหรับประเทศไทย Direction for hydrogen development as an alternative energy for Thailand

Main Article Content

มารี เคดารี จอร์จ เคดารี และ จงจิตร์ หิรัญลาภ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นที่เน้นศึกษาทิศทางการพัฒนาและการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานทางเลือกของประเทศไทยที่เป็นประโยชน์ในอนาคต ไฮโดรเจน ถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นวัสดุตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบัน ไฮโดรเจนสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบหลากหลายชนิด เช่น น้ำ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน หรือเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทอื่น ๆ แต่ละประเภทจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกระบวนการเผาไหม้ มีการใช้สีต่าง ๆ เพื่ออธิบายแหล่งกำเนิดของไฮโดรเจน เช่น ไฮโดรเจนสีเขียว ผลิตจากแหล่งพลังงานสะอาด ในขณะที่โลกเผชิญกับภาวะโลกร้อน ไฮโดรเจนก็มีบทบาทสำคัญ เพราะไฮโดรเจนเป็นหนึ่งในตัวพาพลังงาน ที่สามารถผลิตได้จากพลังงานทดแทนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์สำคัญในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญและรวดเร็ว เพื่อไม่ให้โลกประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง เช่น ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ไฮโดรเจนจัดเป็นพลังงานทางเลือกในอนาคตสำหรับทุกภาคส่วน ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากผลการประชุม COP 28 ตามการประเมินสถานการณ์และการปฏิบัติการในระดับโลก พบว่า แม้มีความก้าวหน้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกที่ 1.5◦C ในความตกลงปารีส มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 2.6 องศา ซึ่งเกินกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปี 2593 ก๊าซเรือนกระจกจะต้องลดลง 43% ภายในปี 2573 และจะต้องลดลง 60 % ภายในปี 2578 ซึ่งทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยจำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนด้านพลังงาน โดยต้องเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน 3 เท่า และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2 เท่า รวมถึงการพยายามที่จะต้องยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล สำหรับประเทศไทยได้มีแนวทางการดำเนินงานให้เป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการสื่อสารกับทุกภาคส่วน สร้างการมีส่วนร่วมที่ชัดเจน โดยมุ่งเป้าไปที่แผนปฏิบัติการ NDC (Nationally Determined Contribution) ปี 2021-2030 เร่งจัดทำพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยรับฟังเสียงประชาชนจากภาครัฐและเอกชน พัฒนาศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น พัฒนาศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาระบบติดตามการปฏิบัติงาน

Article Details

How to Cite
จอร์จ เคดารี และ จงจิตร์ หิรัญลาภ ม. เ. . (2024). ทิศทางการพัฒนาไฮโดรเจน: พลังงานทางเลือก สำหรับประเทศไทย: Direction for hydrogen development as an alternative energy for Thailand. วารสารสร้างสรรค์วิจัยสถาปัตยกรรมและการออกแบบ, 1(1). สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JRCAD/article/view/1047
บท
บทความวิจัย