การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกิจกรรมวิถีไทย
คำสำคัญ:
กาพย์ยานี 11 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก กิจกรรมวิถีไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกิจกรรมวิถีไทย ตามเกณฑ์ ร้อยละ 70 และ 2. เพื่อสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกิจกรรมวิถีไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1/6 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ที่เรียนวิชาภาษาไทย 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 39 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีขั้นนวัตกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกิจกรรมวิถีไทย จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ เกณฑ์การตรวจผลงานการแต่งบทร้อยกรอง และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกิจกรรมวิถีไทย มีคะแนนเฉลี่ย 15.59 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.95 ของคะแนนเต็ม สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกิจกรรมวิถีไทยมีค่าเฉลี่ย 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
ปรีชา ขอวางกลาง. (2566). รายงานผลการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย 1 ท21101 ประจำปีการศึกษา 2565. [เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา: โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย.
เพ็ญจันทร์ เลขะพัฒนพล. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียน ตามภูมิปัญญาไทย 4 รูปแบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2565). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย. (2565). คู่มือนักเรียน ครู และผู้ปกครองโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยประจำปีการศึกษา 2565. นครราชสีมา: มิตรภาพการพิมพ์.
สรัญญพัชร์ แก้วศรีไตร. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารเรื่องคำและหน้าที่ ของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อวันที่ 15
ธันวาคม 2565, จาก https://www.moe.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้- ภาษาไทย ตามหลักสุตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตร แห่งประเทศไทย.
_______. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565,
จาก http://academic.obec.go.th
สุพัตรา ตาลดี. (2551). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
อรนุช บุญชู. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบร่วมมือด้วยสถานการณ์ปัญหา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
บูรพา).