การเปรียบเทียบความเชื่อและวิเคราะห์คติธรรมในประเพณีแซนโฎนตา ของชาวไทยเชื้อสายเขมร ในหมู่ที่ 6 บ้านสมบัติเจริญ ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กมลลักษณ์ บุญมาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กาญจนา บุญถนอม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เจิดอรุณ บานบัว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ธนวรรณ ประสานพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • อธิตยา พรมสอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • อภิสรา บุญตา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รุจาภา ประวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ศันสนีย์ มณีโชติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วาสนา วงศ์ยิ้มย่อง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

คนไทยเชื้อสายเขมร แซนโฎนตา ประเพณีสารทเดือนสิบ บรรพบุรุษ คติธรรม.

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความเชื่อในประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร หมู่ที่ 6 บ้านสมบัติเจริญ ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา กับจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ 2. วิเคราะห์คติธรรมในประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารข้อมูลการวิจัย รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ วารสารหนังสือ งานเขียน และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้การสัมภาษณ์ และได้นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่อนำเสนอผลการวิจัยต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อของชาวบ้านในหมู่ที่ 6 บ้านสมบัติเจริญ ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา มีความเชื่อว่าประเพณีแซนโฎนตาเป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีและระลึกถึงบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ปู่ย่า ตายาย และบรรพบุรุษ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการรู้จักตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณ และความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ

ประเพณีแซนโฎนตามีคติธรรมสอดแทรกอยู่ ได้แก่ 1. ความกตัญญูกตเวที ลูกหลานจะแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีโดยการร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศล 2. ความสามัคคี ในประเพณีแซนโฎนตา ชาวบ้านแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน ผ่านการได้ร่วมกันจัดเตรียมอาหาร ร่วมกันทำข้าวต้ม ร่วมกันทำกระยาสารท 3. การให้ทาน แสดงออกผ่านการที่ชาวบ้านนำขนมที่ตนได้ทำไปแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน ผู้ยากไร้และคนในชุมชน และ 4. การให้อภัย ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ จะให้อภัยลูกหลานด้วยการให้พร

References

ณรงค์ เส็งประชา. (2529). พื้นฐานอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธวัช ปุณโณทก. (2528). วัฒนธรรมพื้นบ้านคติธรรมความเชื่อ ในวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติธรรมความเชื่อ.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นวล ดีสาหะ. การสื่อสารระหว่างบุคคล. สัมภาษณ์วันที่ 11 มีนาคม 2565

บุญมี เอื้อนไธสง. การสื่อสารระหว่างบุคคล. สัมภาษณ์วันที่ 10 มีนาคม 2565.

บันเทิง บุตรเทศ. (2559). พิธีกรรมและความเชื่อแซนโฎนตาของชาวบ้านละลม จังหวัดสุรินทร์. วารสาร

ออนไลน์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564.

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ และยุภาพร ยุภาศ. (2559). กระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมของผีอีสาน รายงานการ

วิจัยสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูรัตณญาณ โสภิต และพระมหามิตร ฐิตปญโญ. (2562). ความเชื่อในประเพณีแซนโฎนตาของจังหวัด

บุรีรัมย์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19(3), น. 285-293.

พระครูรัตณญาณ โสภิต. (2563). การอนุรักษ์ประเพณีแซนโฎนตาที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชาวอำเภอสตึก

จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(2), น. 561-571.

เมธาวี. (2556). ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม : กรณีศึกษางานเทศกาลประเพณี

แซนโฏนตา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วิเชียร รักการ. (2534). วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.เฮ้าส์.

สมศักดิ์ ป้องปัญจมิตร และขนิษฐา จวบสุข. การสื่อสารระหว่างบุคคล. สัมภาษณ์วันที่ 10 มีนาคม 2565.

สวัสดิ์ พินิจจันทร์. (2505). คติธรรม. กองวัฒนธรรมกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. โรงพิมพ์

การศาสนา.

สองเมือง สวัสดี. การสื่อสารระหว่างบุคคล. สัมภาษณ์วันที่ 11 มีนาคม 2565.

สารภี ขาวดี. (2559). ประเพณีแซนโฏนตา: การสืบทอดและการดำรงอยู่ในบริบทพื้นที่ดั้งเดิม. วารสาร

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(2), น. 131-163

สุภาพร ลาธุลี, อิทธิวัตร ศรีสมบัติ และชาตรี เกษโพนทอง. (2559). การศึกษาประเพณีแซนโฎนตาของบ้าน

ทวารไพร อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 3(1), น. 1-13

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-20