แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญา จากงานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ งานปูนปั้นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาและวิเคราะห์ภูมิปัญญางานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร จังหวัดเพชรบุรี 2. เพื่อเสนอแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการรับรู้จากงานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร ด้วยวิธีการที่ยังคงไว้ซึ่งภูมิปัญญาและรูปแบบงานปูนปั้น โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มครูช่างและช่างปั้นที่มีความเชี่ยวชาญด้านปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร 2. กลุ่มผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มได้ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) โดยมีกรอบแนวคำถาม คือ แนวคิดการนำภูมิปัญญาปูนปั้นมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ รูปแบบของการสื่อสารและเรียนรู้ภูมิปัญญาจากงานปูนปั้น รวมถึงข้อคิดเห็นต่าง ๆ จากนั้นจึงใช้การวิจัยเชิงปริมาณตรวจสอบข้อสรุปแนวความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายของแนวคิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นคนไทย (Gen Y และ Gen Z) อายุระหว่าง 18-40 ปี ซึ่งผลของการวิจัยพบว่า แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (D.I.Y.) สามารถสร้างการรับรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญางานปูนปั้นจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์ปูนปั้นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น นำมาประดับตกแต่ง ได้รับความสนใจมากที่สุด รวมถึงประเด็นการอนุรักษ์และการรักษาภูมิปัญญางานปูนปั้นจังหวัดเพชรบุรี พบว่า แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาปูนปั้นเมืองเพชรบุรี สามารถสร้างคุณค่าทางด้านจิตใจเนื่องจากเป็นงาน D.I.Y. อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าด้วยการนำเอาปูนปั้นสดมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างงาน และสร้างรายได้ในท้องถิ่น
References
จิตตรา มาคะผล และคณะ. (2563). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้งานศิลปกรรมปูนปั้น
เมืองเพชร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1).
ทองร่วง เอมโอษฐ์. (สัมภาษณ์, 30 ตุลาคม 2564).
ปวริศร์ โชติพงษ์วิวัฒิ, (2560). วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 5(2).
พรพิมล พจนาพิมล, ดนุลดา จามจุรี, มนัส บุญประกอบ และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนิสิตสาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์. วารสาร
ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1).
มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้.
วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1).
วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี, สำนักงาน. (2562). งานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน
, จาก https://www.m-culture.go.th/phetchaburi/ewt_dl_link.php?nid=985
Dewey, John. (2014). Technology and Engineering Teacher; Reston, 74(1), pp. 24-27.
Wolf, Marco & Mcquitty, Shaun. (2011). Understanding the do-it-yourself consumer: DIY
motivations and outcomes. Article of Academy of Marketing Science Review,
pp. 154-170.