ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วิลาวัณย์ ศรีโพธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • กัญนิกา อยู่สำราญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ปัจจัย การดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผลกระทบต่อสมรรถนะร่างกาย ทุพพลภาพ และภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังในผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา                 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพ ปัจจัยการดูแลสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 264 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยการดูแลสุขภาพ และการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 60-69 ปี (ร้อยละ 54.17) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 59.85) ระดับประถมศึกษาขึ้นไป (ร้อยละ 96.97) มีอาชีพ (ร้อยละ 66.29) รายได้สุทธิต่อเดือน 2,000 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 51.14) รายได้เพียงพอกับรายจ่าย (ร้อยละ 51.89) อยู่กับคู่สมรส บุตรหลาน และญาติ (ร้อยละ 92.42) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 73.48) และมีผู้ดูแล (ร้อยละ 71.21) ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับสูง   (ร้อยละ 73.48) ปัจจัยนำการดูแลสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในระดับมาก (  = 0.82 SD = 0.18) ส่วนทัศนคติของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก (  = 2.60 SD = 0.28) ปัจจัยเอื้อการดูแลสุขภาพพบว่ามีการเข้าถึงบริการสุขภาพอยู่ในระดับมาก (  = 2.37 SD = 0.45) และปัจจัยเสริมการดูแลสุขภาพพบว่าผู้สูงอายุมีสัมพันธภาพในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด อยู่ในระดับมาก (  = 2.49 SD = 0.45) ส่วนความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมการดูแลสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ p < 0.01

References

กัญนิกา อยู่สําราญ, ศรีสกุล ชนะพันธ์ และพานิช แก่นกาญจน์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้าน

สุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตําบลหมื่นไวย อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.

วารสารสุขภาพและการพยาบาล, 20(1), น. 153-167.

จรรยา ธัญน้อม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลําพูน. วารสารการ

ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 9(1), น. 34-46.

นันทนา พลที. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพ ตําบลคลองแปรง อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. สําเนาอัด.

ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, อมรรัตน์ รัตนสิริ, บังอรศรี จินดาวงค์, ไพรินทร์ เนธิบุตร, ลําดวน วัชนะปานชนกานต์,

จันทะคุณ และชลทิพย์ สุภาพินิจ. (2561). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอาศัยในชุมชนชาน

เมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(2), น. 153-160.

พงศธร ศิลาเงิน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในจังหวัด

พะเยา. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลมะค่า. (2564). รายงานจํานวนผู้สูงอายุ. นครราชสีมา: โรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพตําบลมะค่า (สําเนาอัด).

วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตําบลคลองตําหรุ อําเภอ

เมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สุขประเสริฐ ทับสี. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในอําเภอแก่งกระจาน

จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 3(1), น. 14-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30