การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครอง เด็กนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนบ้านบ่อหลวง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5

ผู้แต่ง

  • กิตติยพันธ์ ปันแก้ว โรงเรียนบ้านบ่อหลวง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการบริหาร โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนบ้านบ่อหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ 2. สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ 3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์และ 4. ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความต้องการแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D=0.54)
  2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มี 5 องค์ประกอบ คือ 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วม 2. การดูและช่วยเหลือเด็กนักเรียน3. การสร้างความปลอดภัย 4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ 5. การคุ้มครองเด็กนักเรียน
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียน พบว่า โรงเรียนปฏิบัติตามรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด มีการปรับปรุงรายการของรูปแบบ จำนวน 14 รายการ
  4. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด 2. นักเรียนปลอดภัยจากการแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 99.67 3) นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2560). “เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญในงานออกแบบ”. RAJABHAT JOURNAL OF

SCIENCES HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES, 18(2), น. 254-266.

พายุ วรรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียน ของโรงเรียนในสังกัดองค์การ

บริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

มยุรี โพธิแสน. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจ พอเพียง ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาระถมศึกษามหาสารคาม เขต 3.

(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ยศสราวดี กรึงไกร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของ

สถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

โยธิน ศรีโสภา. (2550). การพัฒนาระบบการประเมินผลด้วยวิธีดุลยภาพสําหรับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สมุทร ชํานาญ. (2556). ภาวะผู้นําทางการศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติ. ระยอง: พี.เอส.การพิมพ์.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศนโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น

พื้นฐาน ปีงบประมาณ 2564-2565. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2563, จาก https://www.kruachieve.com/.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563 ข). รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 : วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย.

กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Conrad, C. F. and Wilson, R. F. (1985). Academic Program Review. Washington D.C.: Kogan Page.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26 — Updated on 2023-06-29

Versions