ปัญหาการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

อุปสรรคการเรียนออนไลน์, ปัญหาการเรียนออนไลน์, นักศึกษาระดับอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิจัยเรื่องปัญหาการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อุปสรรคการเรียนออนไลน์ในรายวิชาการพูดทางวิทยุและโทรทัศน์ หลักสูตร     ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) วิเคราะห์ปัญหาการเรียนออนไลน์ในรายวิชาการพูดทางวิทยุและโทรทัศน์ ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 110 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาประกอบการวิเคราะห์

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีอุปสรรคการเรียนออนไลน์ ดังนี้ 1) ด้านเวลา ใช้เวลาผลิตงานนานกว่าที่กำหนดไว้ 2) ด้านสิ่งแวดล้อมสถานที่ เนื่องจากมีเสียงรบกวนทำให้การทำงานสะดุด 3) ด้านความชำนาญในการใช้เครื่องบันทึกเสียง การตัดต่อ การดาวน์โหลดคลิป 4) ด้านประสบการณ์การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ต้องปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับเวลาที่กำหนด และผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเรียนออนไลน์ สรุปได้ดังนี้ 1) ปัญหาการใช้ภาษาไทยทั้งการอ่านออกเสียง การใช้น้ำเสียง และการเว้นวรรคตอน 2) ปัญหาการเลือกใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ส่งผลให้ใช้เวลาตัดต่อนานกว่าที่กำหนดไว้ เนื่องจากมีเวลาที่ต้องใช้ในกระบวนการขออนุญาตทางลิขสิทธิ์เพิ่มเติม 3) ปัญหาการแบ่งเวลาของตนเอง เนื่องจากการเรียนออนไลน์นักศึกษาไม่ได้พบอาจารย์และเพื่อนในชั้นเรียนจึงจำเป็นต้องอาศัยความรับผิดชอบสูง งานวิจัยนี้มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนและสามารถนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร

References

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตรการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธนพรรณ ทรัพยธนาดล. (2554). ปจจัยที่มีผลกระทบตอการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน. Veridian E-

Journal มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 4(1), น. 652-666.

เมธาวี จําเนียร และกรกฏ จําเนียร. (2561). ประโยชน ปญหาและแนวทางแกไขการใชสื่อออนไลนในการเรียน

อยางมีประสิทธิภาพของโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ, 16(3), น. 113-121.

เรวดี ศรีสุข. (2562). การประยุกตใชทฤษฎีการเรียนรแบบรวมมือ (Co-operative learning) ในการออกแบบ

จัดการเรียนการสอน. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีนครราชสีมา, 2(1), น. 5-16.

รุสดา จะปะเกีย. (2557). ผลของการจัดการเรียนรูแบบใชปญหาเปนฐานที่มีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา

และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6. คณะศึกษาศาสตร

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี.

ศิริพรรณ รัตนะอําพร. (2563). การศึกษาในยุค covid-19. สืบคนเมื่อ 4 สิงหาคม 2564, จาก

https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19 : กับการเรียนการสอนออนไลน กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ.

วารสารสิทยาการจัดการปริทัศน, 22(2), น. 203-213.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลนในยุค NEW NORMAL COVID-19. สืบคนเมื่อ 4

สิงหาคม 2564. จาก file:///C:/Users/wachirarat/Downloads/250336-Article%20Text-892063-

-10-20210512.pdf

หุน-การเงิน. (2564). กสิกรไทยสํารวจผูปกครองรายไดนอยไมพรอมเรียนออนไลน. ประชาชาติธุรกิจ. จาก

https://www.prachachat.net/finance/news-686789

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1987). Learning together and alone: Cooperative, competitive

and individualistic learning (2nd Ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31