การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ด้วยฐานข้อมูลเชิงพื้นที่

ผู้แต่ง

  • ต้อง พันธ์งาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลบริบทของพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. จัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และ 2. วิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำเพื่อการผลิตข้าวอย่างเหมาะสมตามสภาพกายภาพด้านพื้นที่ในระดับแปลงร่วมกับเกษตรกรต้นแบบ วิธีดำเนินการวิจัยโดยรวบรวม และสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในการวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำเพื่อการผลิตข้าว               อย่างเหมาะสมตามสภาพกายภาพด้านพื้นที่ในระดับแปลงร่วมกับเกษตรกรต้นแบบ ผลการวิจัยพบว่า ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา มีการออกสำรวจ และเก็บค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่จริงได้ฐานข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ และฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ จำนวน 10 ชั้นข้อมูล และการประยุกต์เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์หาค่าปริมาณน้ำในแปลงนาตามลักษณะทางกายภาพและเขตการส่งน้ำของชลประทาน คือ 1. เขตพื้นที่ของแปลงนาด้านบนถนนมิตรภาพ หรือนาที่ลุ่มน้ำลำตะคอง (โซน A) อยู่ในเขตพื้นที่การชลประทานของลำตะคอง มีเกษตรกรทั้งหมดตามโครงการ มีจำนวน 34 แปลง มีพื้นที่ประมาณ 320.19 ไร่ มีความต้องการปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกระดับความสูง 5 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้ว จะใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง และต้องใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมดประมาณ 25,614.80 ลูกบาศก์เมตร 2. เขตพื้นที่ของแปลงนาด้านล่างของถนนมิตรภาพ หรือนาที่ลุ่ม อ่างซับประดู่ และมีบางพื้นที่เป็นที่ดอน (โซน B) อยู่ในเขตพื้นที่การส่งน้ำของอ่างซับประดู่ มีเกษตรกรทั้งหมดตามโครงการ มีจำนวน 61 แปลง มีพื้นที่ประมาณ 653.74 ไร่ มีความต้องการปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกระดับความสูง 5 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้ว จะใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง และต้องใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมดประมาณ 52,299.20 ลูกบาศก์เมตร และ 3. เขตพื้นที่ของแปลงนาด้านทางโซนพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของตำบลทางไปภูเขา หรือนาที่โคก (โซน C) ซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่การส่งน้ำของอ่างซับประดู่ มีเกษตรกรทั้งหมดตามโครงการ มีจำนวน 1 แปลง มีพื้นที่ประมาณ 11.73 ไร่ มีความต้องการปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกระดับความสูง 5 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้ว จะใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง และต้องใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมดประมาณ 938.40 ลูกบาศก์เมตร

References

กรรณสิทธิ์ สะและน้อย. (2560). การบริหารจัดการน้ําเพื่อความยั่งยืนในการทําเกษตรกรรมบริเวณเขื่อนลําพระ

เพลิง อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ

ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร (น. 746-754). กําแพงเพชร: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏกําแพงเพชร.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2560). การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคการเกษตรในไทย.

สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2562, จาก https://actionforclimate.deqp.go.th/?p=6836.

เกศสุดา สิทธิสันติกลุ และคณะ. (2558). การจัดการความรู้เพื่อกําหนดทางเลือกในการปลูกข้าวของเกษตรกรใน

พื้นที่ภัยแล้ง กรณีศึกษาเกษตรกร ตําบลออนใต้ อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ

เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ และคณะ. (2549). ภาคตะวันออกเฉียงเหนือศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนา. ขอนแก่น: ศูนย์

ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2558). พื้นที่ปลูกข้าวตําบลมะเกลือใหม่ อําเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา.

นครราชสีมา: โครงการจัดทําระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2554). นโยบายสาธารณะเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ชุดความรู้นโยบาย

สาธารณะ. เชียงใหม่: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

วรเทพ เปรมฤทัย. (2551). การจัดการทรัพยากรน้ําเพื่อการเกษตรของบ้านหนองผ้าขาว ตําบลน้ําดิบ

อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภูวดล โดยดี และสุภาพร แหวะสอน. (2558). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสร้างแผนที่เขตการ

ปลูกพืชเศรษฐกิจบางชนิดบริเวณหนองหารหลวง จังหวัดสกลนคร. สกลนคร: คณะทรัพยากรธรรมชาติ

และอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร.

แหลมไทย พูวณิชย์. (2551). นโยบายการจัดการทรัพยากรน้ําอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Pandey, S. and others. (2012). Coping with drought in rice farming in Asia : insights from a cross-

country. (Master thesis from Proquest Dissertations and these data base).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26