ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลนโยบายการบริหารจัดการระดับคณะ กรณีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, ประสิทธิผลนโยบาย, นโยบาย, นโยบายการบริหารจัดการ, การบริหารจัดการระดับคณะบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลนโยบายการบริหารจัดการระดับคณะ กรณีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยการวิจัยเชิงปริมาณ มีหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระดับปัจเจกบุคคล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมกับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รวมทั้งสิ้น 146 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2562- เมษายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลระดับตัวแปรเดียวใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสองตัวแปรใช้สถิติ Chi-square เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลนโยบายการบริหารจัดการระดับคณะ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลนโยบายการบริหารจัดการระดับคณะ กรณีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้แก่ 1) ปัจจัยการบริหารองค์กร มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลนโยบายการบริหารจัดการระดับคณะ โดยมีค่า x^2 เท่ากับ 85.76 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และ 2) ปัจจัยการมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลนโยบายการบริหารจัดการระดับคณะ โดยมีค่า x^2 เท่ากับ 208.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00
References
คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร. (2556). แผนยุทธศาสตร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พ.ศ. 2557-2561. ในการประชุมครั้งที่ 1/2556. นครราชสีมา:
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ณหทัย กูลณรงค. (2559). ประสิทธิผลของการนํานโยบายแกไขปญหาสลากกินแบงรัฐบาลเกินราคา รัฐบาล
พลเอกประยุทธ จันทรโอชา มาปฏิบัติ. (การคนควาอิสระ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ
สําหรับนักบริหาร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร).
นภดล รมโพธิ์ และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2552). เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานองคกร.
กรุงเทพฯ: ศูนยหนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
ปวียสุดา ทองใบรพีวัฒน. (2559). ประสิทธิผลการนํานโยบายกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองไปปฏิบัติในจังหวัด
นนทบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 5(1).
ปาริชาติ สถาปตานนท, ดวงพร คํานูนวัตน, หฤทัย ขัดนาค, ศิวพร ศรีสมัย, ดวงแข บัวประโคน และจําเริญ
ใยชิด. (2549). การสื่อสารแบบมีสวนรวมและการพัฒนาชุมชนจากแนวคิดสูการปฏิบัติการวิจัยใน
สังคมไทย (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
มยุรี อนุราชธน. (2547). นโยบายสาธารณะ แนวความคิด กระบวนการ และการวิเคราะห.
เชียงใหม: ภาควิชารัฐศาสตร คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององคกรตามรัฐธรรมนูญ และ
หนวยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน. (2540). ประสิทธิผล. สืบคนเมื่อ 22 กุมภาพันธ 2562, จาก
https://scholar.googleusercontent.com/scholar?q=cache%3Am1WzTRzrysUJ%3Ascho
lar.google.com
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร (พิมพครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.