การประเมินความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ของวัดโคกศรีสะเกษ ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วณิดา คำมณี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กนกพร พายขยาย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จิราภรณ์ บุตรดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เกียรติศักดิ์ แสนคง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ติณห์ภัทร์ นิธิธัตเมธานน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รัฐนนท์ ทุดปอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รุจาภา ประวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ศันสนีย์ มณีโชติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วาสนา วงศ์ยิ้มย่อง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การประเมินความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว วัด แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ประวัติความเป็นมาของวัดโคกศรีสะเกษ ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และ 2. เพื่อประเมินความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ จำนวน 8 คน และประชาชนในพื้นที่ที่มีความเกี่ยวข้อง จำนวน 533 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test และความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วัดโคกศรีสะเกษ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านโคกสระน้อย ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เดิมวัดมีชื่อว่าวัดโคกศรีสะเกษ บ้านโคกสระน้อย แต่บริเวณวัดมีต้นสะเกษเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อวัดโคกศรีสะเกษ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน 2. ความพร้อมในการเป็นเหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของบุคคล พบว่า เพศ อาชีพ และสถานภาพในชุมชนแตกต่างกัน มีความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านของความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ต่อองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1. ด้านพื้นที่อยู่ในระดับมาก 2. ด้านการจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก 3. ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง และ 4. ด้านรายได้และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง

References

ณัฐพงศ ฉายแสงประทีป และคณะ. (2556). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในตลาดเก่าบางพลีเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส- Veridian, 6(3), น. 637-657

ประสิทธิ์ สระทอง. (2560). บทบาทของวัดที่มีต่อสังคมในการก้าวเดินในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal,

(1), น, 936-951. สืบคPนเมื่อ 9 กุมภาพันธ7 2565, จาก

https://he02.tcithaijo.org/index.phpNeridian-E-Journal/article/view/87737/69217.

ปรีชา แดงโรจน์. (2544). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ไฟว์ แอนด์ โฟร์ พริ้นติ้ง.

พระพิพัฒน์อิสรคุณ. (2565). สัมภาษณ์ 27 มกราคม 2565.

มาโนช พรหมปัญโญ. (2556). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสู่ประชาคมอาเซียนจังหวัด

อุบลราชธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(2), น. 36.

ระพีพรรณ ทองห่อ และคณะ. (2545). การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นผลจากการ

ท่องเที่ยว : กรณีศึกษา จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รัตนานันท พงศ์วิริทธิ์ธร และภาคภูมิ ภัควิภาส. (2556). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า

อย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยพัฒนาชุมชน, 6(1), น. 42-60.

ศรีจันทร์ พะนะจะโปะ. (2565). ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านโคกสระน้อยและวัดโคกศรีสะเกษ. (สัมภาษณ7

มกราคม 2565).

สายรุ้ง วงษาไชย. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำวัดเชิงทา จังหวัดลพบุรี

(การศึกษาอิสระ). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภีมพศ ทองสกล. (2552). การศึกษาคติความเชื่อจากภาพจิตรกรรมภายในศาลาโรงธรรม วัดโคกศรีสะเกษ

อำเภอปmกธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. (ศิลปะนิพนธ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์,

มหาวิทยาลัยศิลปากร).

โสวัตรี ณ ถลาง และคณะ. (2547). การศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีต่อระบบนิเวศวัฒนธรรม

จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native Fauna.

Australian Nature Conservation Agency. Canberra

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26