พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชีวิต

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ ช่างเหล็ก นักวิชาการ จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา การพัฒนา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1. ความหมายของพระพุทธศาสนา 2. ความหมายของการพัฒนาชีวิต 3. หลักการสำคัญในการพัฒนาชีวิต และ 4. ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิต ด้วยวิธีศึกษา ค้นคว้าและวิเคราะห์จากหนังสือตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนาคือหลักวิชา ระเบียบวิธีปฏิบัติและพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้สิ่งที่ควรรู้ สอนให้ปฏิบัติในสิ่งที่ควรปฏิบัติ และสอนให้เป็นสุขชนิดที่ไม่มีความสุขใดเสมอเหมือน พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความจริง เป็นจริงตามหลักเหตุผล มุ่งสอนให้คนรู้จักพึ่งตนเองด้วยสติปัญญาความรู้ความสามารถของตนเอง หลักการพัฒนาชีวิตในทางพระพุทธศาสนา มี 4 ประการ คือ 1. การพัฒนากาย 2. การพัฒนาศีล 3. การพัฒนาจิตใจ และ     4. การพัฒนาปัญญา ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตมี 7 ประการ คือ 1. ความมีกัลยาณมิตร 2. ความถึงพร้อมด้วยศีล 3. ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ 4. การทำตนให้ถึงพร้อม 5. การทำความเห็นให้ถึงพร้อม 6. ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท และ 7. ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ

References

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร. (2560). มรรควิจารณ์. ปทุมธานี: สํานักปฏิบัติธรรมอุดมทรัพย์ วัดอโศการาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). ธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม.

พุทธทาสภิกขุ. (2547). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพฯ: สํานักงานพระพุทธศาสนา.

_________. (2549). ชีวิตคืออะไร. กรุงเทพฯ: ซีแอนด์เอ็นบุ๊ค.

_________. (2550). แก่นพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

วีณา โดมพนาดร. (2546). ผลึกแสงแห่งใจ. กรุงเทพฯ: มติชน.

สม สุจิรา. (2550). ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิง.

สุวัฒน์ ช่างเหล็ก. (2547). สุดยอดความรู้และปรัชญาชีวิต (อัดสําเนา). นครราชสีมา: คณะมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26