การพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1
คำสำคัญ:
พัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ , หนังสือชุดอ่านแม่ ก กา , แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาดีศรีสะอาด อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ชุดฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ แม่ก กา เล่มที่ 1 แบบทดสอบการอ่าน การเขียน และแบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีกลุ่มเดียว (Paired samples t–test) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 มีความสามารถด้านการเขียน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้ ส่วนผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมปรากฏว่าหลังการจัดกิจกรรม โดยใช้แผนพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 โรงเรียนบ้านนาดีศรีสะอาด นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่าน สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม โดยก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.29 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.50 นักเรียนมีพัฒนาด้านการเขียนสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโดยก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .96 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.73 จะเห็นได้ว่าทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 มีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุ
สภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กำชัย ทองหล่อ. (2543). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร. (2560). สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของ นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ทรงนาถ จันทร์กลับ. (2550). ผลการใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือโดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มตามสัมฤทธิ์ผล ทางการเรียน
ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทย และความพึงพอใจของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).
ปทุม หนูมา. (2542). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเขียนสะกดคำควบกล้ า ร ล ว ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เพื่อรู้แจ้ง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.
(การประถมศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2543). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
_______. (2551). “ความรู้พื้นฐานทางการอ่าน”. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การใช้ภาษาไทย หน่วยที่ 1-8.
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2553). หนังสือเรียนภาษาไทยหลักภาษา และการใช้ภาษา ม.1. กรุงเทพฯ: อักษร
เจริญทัศน์.
สมบัติ ศิริจันดา. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.
อรทัย นุตรดิษฐ.(2540). การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาศรีศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.