การใช้เฟซบุ๊กเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ รายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • รัชดา พงศ์ไพรรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

เฟซบุ๊ก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้, สัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ หลังการจัดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนโดยใช้เฟซบุ๊กและ 2) วัดเจตคติของนักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนโดยใช้เฟซบุ๊กกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 52 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน รวม15 ชั่วโมง แบบวัดเจตคติ และแบบทดสอบการออกเสียงสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีกลุ่มเดียว (one sample t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง หลังการจัดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนโดยใช้         เฟซบุ๊กพบว่าการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 37.46 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50คิดเป็นร้อยละ 74.92 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์ 70% กับคะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ 2) ผลการวัดเจตคติของนักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนโดยใช้เฟซบุ๊กพบว่าหัวข้อการประเมินที่มีระดับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ช่วยให้ได้ฝึกฝนได้ด้วยตนเองได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการตามความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละคน (M=4.65, S.D.=0.56) รองลงมาคือ ทำให้มีความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารพร้อมกัน (M=4.63, S.D.=0.53) และมีความสะดวกในการเรียนรู้ได้เมื่อมีเวลาว่างและสามารถเรียนรู้ที่ใดก็ได้ (M=4.56, S.D.=0.64)

References

กุลชัยกุลตวนิช, ชุติวัฒน สุวัตถิพงศ, นวลลออ ทวิชศรี, เกษมสันต สกุลรัตน. (2554). เฟสบุค: การจัดการเรียนการ

สอนผสมผสานตามแนวคิดโซเชียลคอนสตรัคติวิสต (Social Constructivism). สืบคน21 ธันวาคม 2560,

จาก http://www.niteschan.com/nec2011/2_Day%201/E1/E1_11_91.pdf

ระวิ แกวสุกใส และชัยรัตน จุสปาโล. (2556). เครือขายสังคมออนไลน: กรณีเฟสบุค (Facebook) กับการพัฒนา

ผูเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร, 5(4),195-205.

วัชรพงษ หวันสมาน. (2558). ผลของการใชเฟซบุกเปนสื่อกลางในการสอนอานภาษาอังกฤษเฉพาะทางใหกับ

ผูเรียนที่มีความสามารถทางภาษาในระดับพื้นฐาน. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร. สงขลา.

วรรณพร กลิ่นบัว. (2553). การสรางเครือขายทางสังคมผาน www.facebook.com ของกลุมวัยทํางาน.

วิทยานิพนธปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย. กรุงเทพฯ.

สายวรุณ สุกก่ํา, เอกสิริ แกนศักดิ์ศิริ และ อุทุมพร โดมทอง. (2563). สหสัมพันธภายในชั้น. สืบคน 15 เมษายน

, จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/02_5_Intraclass-

Correlation.pdf

แอนณา อิ่มจําลอง และวิไลวรรณ จงวิไลเกษม. (2556). การใชเฟซบุคเปนชองทางการสื่อสารการเรียนการสอน

ทางดานนิเทศศาสตร. วารสารนิเทศศาสตรธุรกิจบัณฑิตย, 7(1), 75-93.

AbManan, N.A., Ashaari Alias, A., & Pandian, A. (2012). Utilizing a social networking website as

anESL pedagogical tool in a blended learning environment: An exploratory study.

International Journal of Social Sciences, 2(1), 2-9.

AlSaleem, B.I. (2018). The effect of Face book activities on enhancing oral communication skills

for EFL learners. International Education Studies, 11(5), 144-153.

Al-Tamimi, M.F., Al-Khawaldeh, A.H., Al Natsheh, H.I.M., &Harazneh, A.A. (2018). The effect of using

Face book on improving English language writing skills and vocabulary enrichment among

University of Jordan sophomore students. Journal of Social Sciences, 7(3), 187-214.

Baran, B. (2010). Facebook as a formal instructional environment. British Journal of Educational

Technology, 41(6), 146-149.

Blattner, G., & Fiori, M. (2009). Face book in the language classroom: Promises and possibilities.

Instructional Technology and Distance Learning (ITDL), 6(1), 17–28.

Blattner, G., &Lomicka, L. (2012). Facebook-ing and the social generation: A new era of language

learning. Alsic, (Apprentissage des langues et systèmesd’information et de

communication), 15(1). Retrieved December 20, 2017, from http://alsic.revues.org/2413

Bowman, N.D., &Akcaoglu, M. (2014). “I see smart people!”: Using Facebook to supplement

cognitive and affective learning in the university mass lecture. Internet and Higher

Education, 23, 1-8.

Boyd, D.M., & Ellison, N.B. (2007). Social network sites: Definition, history and scholarship. Journal

of Computer-Mediated Communication, 13(1), 210-230.

Charlton, P., Magoulas, G., &Laurillard, D. (2012). Enabling creative learning design through

semantic technologies. Technology, Pedagogy and Education, 21(2), 231-253.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30