การศึกษาอนุภาคในบทละครนอกเรื่องโม่งป่า เพื่อหาแนวทางการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย
คำสำคัญ:
อนุภาค, โม่งป่า, การสร้างสรรค์นาฏศิลป์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนุภาคที่ปรากฏในบทละครนอกเรื่องโม่งป่า จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์หาแนวทางการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยที่มาจากอนุภาคในบทละครเรื่องโม่งป่า ซึ่งเป็นการค้นหาอนุภาคที่เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งมหัศจรรย์ และสิ่งแปลกประหลาดพิสดารที่สอดแทรกอยู่ในบทละคร
จากการศึกษาพบว่า อนุภาคที่ปรากฏในบทละครเรื่องโม่งป่า แบ่งออกเป็น 8 ลักษณะ ประกอบด้วย อนุภาคการแปลงกายของตัวละคร อนุภาคอาวุธและสิ่งของวิเศษ อนุภาคเทวดาผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือ อนุภาคเหตุการณ์หรือพฤติกรรม อนุภาคการเนรมิตสิ่งต่าง ๆ และร่ายมนตร์คาถา อนุภาคการฟื้นคืนชีพ อนุภาคตัวละครอมนุษย์และสัตว์ และอนุภาคการกำเนิดของตัวละครที่ผิดปกติ อนุภาคเหล่านี้เป็นประเด็นที่สำคัญในการนำไปใช้ในการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างแรงบันดาลใจโดยการหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับอนุภาคในบทละครเรื่องโม่งป่า นำมาสร้างเป็นแนวความคิดหลักถ่ายทอดผ่านการแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การแสดงรำและระบำ การแสดงละครไทยทั้งแบบดั้งเดิมและละครสมัยใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมปัจจุบัน โดยแนวความคิดนี้สามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์องค์ประกอบการแสดงอื่น ๆ ประกอบด้วย บทละคร ลีลาทางนาฏศิลป์ เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี อุปกรณ์ประกอบการแสดง และพื้นที่การแสดง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการและสามารถนำไปต่อยอดในด้านการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์ไทย รวมถึงเป็นการสืบสานวรรณคดีที่เก่าแก่ไทยให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักและตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีไทย
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2523). วรรณกรรมประกอบการเล่นละครชาตรี. โครงการเผยแพร่เอกลักษณของไทย
กระทรวงศึกษาธิการ.
นราพงษ จรัสศรี. (2562, 25 กุมภาพันธ). ศาสตราจารยวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สัมภาษณ.
โรงพิมพพาณิชศุภผล. (ม.ป.ป.). โมงปา 1-40. กรุงเทพฯ: พาณิชศุภผล.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, (2563). รายชื่อละครโทรทัศนจักร ๆ วงศ ๆ. สืบคน 9 มิถุนายน 2563, จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อละครโทรทัศน จักร ๆ_วงศ_ๆ
Thompson, S. (1977). The foktale. Berkeley: University of Californian Press.