การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ภคธรณ์ พิลาตัน โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
  • พงษ์อนันต์ ปรุกระโทก โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)

คำสำคัญ:

หนังสืออ่านเพิ่มเติม , ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียน จำนวน 3 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1. หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้  เท่ากับร้อยละ 94.20 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับร้อยละ 90.00 ซึ่งสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนรู้

References

กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราชมาร์เก็ตติ้ง

แอนด์โปรดักชั่น.

นุกุล ค่ำคูณ, วรรณภา มานะชัยตระกูล และสาวินี ปรังประโคน. (2562). การสร้างหนังสืออ่าน

เพิ่มเติมเรื่องข้อมูลทางคติชนชุมชนบ้านลองตองสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนบ้านลองตอง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. (การศึกษาอิสระ

พุทธศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครราชสีมา).

นุชลี คล้ายวันเพ็ญ. (2553). การนําภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครู

โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพระนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พระพงษ์พัฒน์ ติกฺขญาโณ. (2562). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องท้าวสุรนารีสำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด

นครราชสีมา. (ครุนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาเขตนครราชสีมา).

พระมหาอนุกูล อนุตฺตโร, พระวุฒิชัย วุฒิปญฺโญ และอัจฉริยะ กลีบงูเหลือม. (2562). การสร้าง

หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องข้อมูลทางคติชนของชุมชนบ้านตลาดสำหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบุ (ประชารัฐพัฒนา) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด

นครราชสีมา. (การศึกษาอิสระพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา).

รวีวรรณ ปรังประโคน. (2562). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องสถานที่สำคัญในชุมชนรอบวัด

สมอรายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย) อำเภอ

เมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. (ครุนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหา

จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา).

ศิวาพร อ่อนสุวรรณา จารุวรรณ ธรรมวัตร และ โสภี อุ่นทะยา, (2556 ). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการ

คิดวิเคราะห์ใน หนังสืออ่านนอกเวลาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม)

สมพร จารุนัฏ. (2554). การพัฒนาหนังสือและเอกสารเพื่อการเรียนการสอนระดั[ประถมศึกษา

ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยที่ 11-15.

นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-07