ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการการุณยฆาตและสิทธิการตาย
คำสำคัญ:
ปัญหากฎหมาย, การุณยฆาต, สิทธิการตายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการให้ผู้ป่วยตายโดยการุณยฆาต และเพื่อเปรียบเทียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำการุณยฆาตระหว่างกฎหมายไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตที่เหมาะสมต่อการให้ผู้ป่วยตายโดยการทำการุณยฆาตและการปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร (documentary research) ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาเรื่องแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทำการุณยฆาตนั้นสังคมไทยยังไม่ยอมรับการที่จะยุติการรักษาผู้ป่วยแบบ Active euthanasia เพราะคำนึงถึงศีลธรรมอันดีและในทางพระพุทธศาสนาด้วยคำว่า ฆ่าคนเป็นบาป จากการเปรียบเทียบหลักกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำการุณยฆาต ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ จะเห็นว่ากฎหมายไทยยังไม่อนุญาตให้ทำการุณยฆาตแบบ Active euthanasia แต่มีปรากฏในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติ การทรมานจากการเจ็บป่วยได้ส่วนกฎหมายต่างประเทศให้การยอมรับการทำการุณยฆาต เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ ในประเด็นเกี่ยวกับขอบเขตและการปฏิเสธการรักษาโดยให้การกระทำ การุณยฆาตได้นั้น ผู้ป่วยควรมีสิทธิที่จะตัดสินใจและใช้สิทธิที่ตนมี การที่ผู้ป่วยร้องขอให้แพทย์จบชีวิตของตนได้นั้นผู้ป่วยจะต้องทุกข์ทรมานจากโรคร้ายอย่างรุนแรงและแพทย์ได้รักษาทุกวิถีทางแล้วก็ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ จนกระทั้งแพทย์ได้ลงความเห็นในการรักษาผู้ป่วยว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่มีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้และผู้ป่วยนั้น ไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อีกได้ไม่นาน และได้รับความยินยอมของผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยแล้ว ก็สมควรที่จะให้แพทย์ทำการการุณยฆาตได้ โดยที่ให้ถือว่าแพทย์ไม่มีความผิดอาญา
References
กมลชัย รัตนสกาววงศ. (2553). ความยินยอมในกฎหมายอาญา. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คําอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: พลสยาม พริ้นติ้ง.
จิตติ ติงศภัทิย. (2536). คําอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สํานักอบรมกฎหมายแหงเนติบัณฑิตยสภา.
__________. (2553). คําอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 2 และภาค 3. (พิมพ ครั้งที่7).กรุงเทพมหานคร: สํานักอบรมกฎหมายแหงเนติบัณฑิตยสภา.
ชาญชัย วสันตยานนท. (2551). การุณยฆาตกับสังคมไทย. ภาคนิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
นฤมล มารคแมน. (2527). ปญหาจริยธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการุณยฆาต. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาอักษรศาสตร. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นันทน อินทนนท. (2545). ‘สิทธิที่จะตาย’ ในตายอยางมีศักดิ์ศรี มาตรา 24 ราง พ.ร.บ. สุขภาพแหงชาติ.กรุงเทพมหานคร : สํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแหงชาติ.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2544).สารานุกรรมรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเปนมนุษย.กรุงเทพมหานคร: องคกรการคาของคุรุสภา.
ประพัฒนพงศ สุคนธ. (2529). การยกเวนความรับผิดในการทําใหผูปวยตายดวยความสงสาร. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2536). บนเสนทางชีวิต. (พิมพ ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบาน.
ปติพร จันทรทัด ณ อยุธยา. (2546). ตายอยางมีศักดิ์ศรี. กรุงเทพมหานคร:สํานักงานปฏิรูประบบสุขภาแหงชาติ. วิไลวรรณ ไชยรัตนมโนกร. (2540). แนวคิดดานกฎหมายและการยอมรับของนักกฎหมายตอการทําใหผูปวยสิ้นหวังตายอยางสงบ. วิทยานิพนธสาธารณสุขมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข. คณะสาธารณสุขศาสตรมหาวิทยาลัยมหิดล.
สันต หัตถีรัตน. (1 ตุลาคม 2548). “ชีวิตแลชีวิต”. มติชนรายวัน. มปล. สุจิตา รณรื่น. (2527). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: หางหุนสวนธนการพิมพ.
สุรินรัตน แก(วทอง. (29 สิงหาคม 2559). “สิทธิที่จะตายในบริบทกฎหมายไทย.”. คม ชัด ลึก. หนา 2.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2552). หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในวาระสุดทายของ ชีวิต ในหนังสือ กอนวันผลัดใบ : หนังสือแสดงเจตนาการจากไปในวาระสุดทาย. (พิมพ ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแหงชาติ.