ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลตะกุดไร จังหวัดเพชรบูรณ์ประเทศไทย
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพในการจัดการ, คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน, ปัจจัยเกี่ยวกับการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลตะกุดไร จังหวัดเพชรบูรณ์ประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการได้แก่ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยเกี่ยวกับการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน โดยเก็บข้อมูลจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเขตพื้นที่ตำบลตะกุดไร อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 129 คน โดยใช้แบบสอบถาม ปลายปิด โดยเก็บข้อมูลได้จำนวน 120 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 93 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยในการวิเคราะห์ข้อมูลมีการใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Divination) เพื่อบรรยายข้อมูล และวิเคราะห์สถิติอ้างอิงด้วยการวิเคราะห์ ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยพิจารณาค่าสถิติ T-test และ F-test เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย
ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า 1. ระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ตำบลตะกุดไร อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ในระดับสูง และ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มี 2 ปัจจัย ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน และการได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ การได้รับข้อมูลข่าวสารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2556). กองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแหงชาติ. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดําเนินงานกองทุนหมูบานระดับจังหวัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
กัลยา วานิชยบัญชา. (2552). สถิติสําหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
จริยา วงศกําแหง. (2551). ปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพในการดําเนินงานของกองทุนหมูบาน จังหวัดปตตานี.วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
จําแลง จิระวิชัยฤทธิ์. (2556). ประสิทธิภาพการจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมูบาน: ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดอางทอง. ภาคนิพนธ,ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร,.
ณัฐนพิน ขันนาแล. (2559). ประสิทธิผลการดําเนินงานของกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองในเขตเทศบาลเมือง เขลางคนคร อําเภอเมืองลําปาง จังหวัดลําปาง. การศึกษาคนควาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม.
นภาภรณ หะวานนท และคณะ. (2556). โครงการวิจัยและประเมินกองทุนหมูบาน : กองทุนหมูบานและการสะสมทุนชุมชน: รายงานสรุป. กรุงเทพมหานคร : รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เรืองอุไร ชวยชู. (2550). ปจจัยที่มีผลตอประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผูใหญบาน: ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปทุมธานี. ภาคนิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.
สมคิด บางโม. (2557). การบริหารองคกรสมัยใหม .กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร, สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร,.
สํานักงานกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแหงชาติ. (2554). คูมือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวของกับการดําเนินงานกองทุนหมูบ'านและชุมชนเมือง. กรุงเทพมหานคร.
อรสุดา ดุสิตรัตนกุล. (2557). ปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ: ศึกษาเฉพาะกรณีของบุคลากรสวนกลาง. การศึกษาคนควาอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.