อิทธิพลของส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความต้องการเข้ามาใช้บริการร้านอาหารของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ศิริกาญจน์ อิทธิปิยวัช คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • นิชาภา ทองอยู่ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ณนนท์ แดงสังวาลย์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สุรีย์ แถวเที่ยง คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความต้องการของผู้สูงอายุด้านการเข้ามาใช้บริการร้านอาหาร และศึกษาถึงอิทธิพลของส่วนผสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความต้องการเข้ามาใช้บริการร้านอาหารของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดนนทบุรีกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปในเขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 100 คน ได้จากการคำนวณขนาดของตัวอย่างตามสูตรของ TaroYamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้คือ แบบมาตราส่วนประเมินค่าแบบ 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้บริการร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-69 ปี มาใช้บริการร้านอาหารกับครอบครัว และรับประทานอาหารนอกบ้านมากที่สุด คือ 2-3 ครั้ง/เดือน ผลการศึกษาระดับ ความต้องการใช้บริการด้านการบริการของร้านอาหารสำหรับผู้สูงอายุในภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.75)ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ด้านบุคคลหรือพนักงานด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคาด้านกระบวนการ และด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะ ทางกายภาพมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกต่อความต้องการเข้ามาใช้บริการร้านอาหารของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดนนทบุรี

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย. (2546). พระราชบัญญัติผู สูงอายุ พ.ศ. 2546. สืบคนเมื่อ 25 ตุลาคม 2561, จากhttp://www.dop.go.th/download/laws/regulation_th_20152509163042_1.pdf กิจปฏิภาณ วัฒนประจักษ. (2556). ปจจัยดานการตลาดที่ควรจะพิจารณาในการมุงสูธุรกิจอาหารสําหรับผูบริโภคสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 7(14), 134.

จิณณณิชา พงษดี และ ปยธิดา คูหิรัญญรัตน. (2558). ปญหาและความตองการดานสุขภาพของผูสูงอายุในเขต พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส+งเสริมสุขภาพ ตําบลบานเหมืองแบง ตําบลหนองหญาปลอง อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแกน, 3(4), 561-576.

ชูศรี วงศรัตนะ. (2558). เทคนิคการเขียนเค าโครงการวิจัย: แนวทางสู)ความสําเร็จ. (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ.

ณัฐ อิรนพไพบูลย. (2554). ความพึงพอใจของผู รับเหมาตอสวนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑคอนกรีตผสมเสร็จ ของโรงงานซีแพคแฟรนไชส สาขาจอมทอง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม. เชียงใหม. เปรมศักดิ์ อาษากิจ. (2556). รายงานการวิจัย เรื่องตลาดผลิตภัณฑ8และบริการสําหรับผู สูงอายุในจังหวัด เชียงใหม). สืบคนเมื่อ 24 ตุลาคม 2561, จาก http://repository.rmutl.ac.th/bitstream/handle/ 123456789/199/Marketing%20Products%20and%20Services%20For%20seniors%20in%20Chiang%20Mai%202556.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

พรมิตร กุลกาลยืนยง. (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยและปจจัยที่สงผลตอความพึงพอใจของผูบริโภค ที่มีตอรานอาหารไทยในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเปรียบเทียบผูบริโภคกลุม Gen-X และ Gen-Y.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม,6(1),66-75.

พวงรัตน ทวีรัตน. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สํานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลัดดา บุญเกิด. (2557). ความต องการด านสวัสดิการของผูสูงอายุในเขตเทศบาลตําบลเกาะจันทร อําเภอเกาะ จันทร จังหวัดชลบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

วรฤทัย สุภัทรเกียรติ. (2552). ปจจัยที่มีผลตอความตองการของลูกคาในเซ็นทรัลพลาซา รัชดา – พระราม 3.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.กรุงเทพมหานคร.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช สถิติที่เหมาะสมสําหรับการวิจัย. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ.

ศูนยขอมูลประเทศไทย – Thailand Information Center. 2561. จํานวนประชากรในจังหวัดนนทบุรี. สืบคนเมื่อ 31 ตุลาคม 2561, จาก http://nonthaburi.kapook.com/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25