การศึกษาการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากคำพิพากษาศาลฎีกา

ผู้แต่ง

  • อมรเทพ คล่าโชคชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • อาฤทธิ์ตา ศรีสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จีรวรรณ สร้างการนอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ภัทราภรณ์ ประสานพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เกศรินทร์ สีแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สถิต จำเริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การใช้บังคับกฎหมาย แดนกรรมสิทธิ์ การใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน คำพิพากษาศาลฎีกา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2 หมวด 2 แดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรสิทธิ์ และเพื่อศึกษาการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากคำพิพากษาศาลฎีกา โดยการเลือกคำพิพากษาศาลฎีกา จำนวน 30 คำพิพากษาที่เกี่ยวกับการแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ใช้แบบบันทึกข้อมูล เพื่อใช้จดบันทึกข้อมูลรายละเอียดของคำพิพากษาศาลฎีกา ประเด็นข้อเท็จจริง ประเด็นกฎหมาย เพื่อหาความถี่ของคำพิพากษาที่มีการตัดสินในประเด็นกฎหมายนั้น ๆ

ผลการวิจัยพบว่า มีมาตราที่เกี่ยวข้องตั้งแต่มาตรา 1335 - 1355 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 21 มาตรา โดยกฎหมายให้สิทธิอยู่ในมาตรา 1335-1337 แดนกรรมสิทธิ์และอำนาจกรรมสิทธิ์ และกฎหมายจำกัดสิทธิเป็นไปตามมาตรา 1337-1355 จากตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา จำนวน 30 ฎีกา พบว่าเรื่องที่เป็นประเด็นการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พบมากที่สุดในคำพิพากษาศาลฎีกานั้น คือ มาตรา 1349 ที่ดินตาบอดไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จำนวน 10 ฎีกา รองลงมาคือมาตรา 1336 อำนาจกรรมสิทธิ์ จำนวน 8 ฎีกา เท่ากันกับมาตรา 1350 ทางจำเป็น จำนวน 8 ฎีกา ตามมาด้วยมาตรา 1337 การใช้สิทธิเกินส่วน จำนวน 7 ฎีกา คำพิพากษาของศาลฎีกาจึงถือว่าเป็นบรรทัดฐานในการใช้กฎหมาย เป็นตัวอย่างในการวินิจฉัย ตีความ และอธิบายตัวบทกฎหมายต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายจากคดีเรื่องจริงที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา ซึ่งถือเป็นที่ยุติและถึงที่สุด

References

จุฑามาศ นิศารัตน์. (2562). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2565). หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565.

นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สมยศ เชื้อไทย. (2562). คำอธิบายกฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

หยุด แสงอุทัย. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกล หาญสุทธิวารินทร์. (2558). “คดีแย่งน้ำ” กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก

https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/595644?view=desktop.

________. (2558). “คดีปล่อยนำท่วมนา” กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก

https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/595644?view=desktop.

ศาลฎีกา, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศาลฎีกา. (2565). ระบบสืบค้นคำพิพากษาคำสั่งคำร้องและ

คำวินิจฉัยศาลฎีกา. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2565, จาก

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/searchlist.jsp.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28