บทเพลงสำหรับการจัดการเรียนการสอนวรรณกรรม
คำสำคัญ:
บทเพลง สื่อสาธารณะ วรรณคดีมรดก วรรณกรรมร่วมสมัย การสอนภาษาไทยบทคัดย่อ
การใช้บทเพลงสำหรับการเรียนการสอนวรรณกรรมมีความจำเป็น เนื่องจากวรรณกรรมที่นักศึกษาต้องศึกษามีจำนวนมาก จึงทำให้นักศึกษาไม่สนใจอยากอ่านวรรณกรรม ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงนำประโยชน์จากสื่อสาธารณะและสื่อทางเลือกต่าง ๆ มาเพื่อช่วยแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยเน้นการสอนทางด้านวรรณกรรม บทเพลงจึงเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่มีประโยชน์ที่จะช่วยทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น บทเพลงที่นำมาใช้สอนปรากฏทั้งในวรรณคดีมรดกและวรรณกรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นสื่อสาธารณะที่หาได้ง่ายและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เนื้อหาของบทเพลงจะช่วยทำให้ได้รู้จักเนื้อเรื่องในวรรณกรรม โดยเฉพาะชื่อตัวละคร เนื้อเรื่องบางตอน และบางครั้งบทเพลงยังนำแนวคิดหลักหรือแก่นเรื่องมาแสดงไว้ด้วย ผู้เขียนได้รวบรวมวรรณคดีมรดกที่นำมาแต่งเป็นบทเพลงจากเรื่องอิเหนาและเรื่องอื่น ๆ ส่วนวรรณกรรมร่วมสมัยมีบทเพลงจากเรื่องผู้ชนะสิบทิศ นอกจากนี้ยังรวบรวมบทเพลงที่นำวรรณคดีและวรรณกรรมมาประกอบเพลงในละครโทรทัศน์อีกหลายเรื่อง บทเพลงที่รวบรวมไว้มีทั้งการยกข้อความคำประพันธ์มาจากวรรณคดีทั้งเพลง การยกข้อความคำประพันธ์มาจากวรรณคดีบางตอน การนำชื่อตัวละครมาตั้งเป็นชื่อเพลง และการเอ่ยชื่อตัวละครและสถานที่ในฉากของวรรณคดีไว้ในเพลง
References
เพลงรักอมตะ. (2543). สารานุกรมเพลยอดนิยม (ฉบับแก้ไขปรับปรุง 2543). ม.ป.ท.
มีโมเดล. (2566). ญาติกา (พัชริดา วัฒนา). สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566, จาก http://xn--
cabvaoi.neemodel.com/
ลัดดา ปานุทัย. (2544). อิทธิพลของวรรณกรรมไทยที่มีต่อเพลงไทยสากลในด้านเนื้อหาและรูปแบบ (รายงานวิจัย).
นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อิงอร สุพันธุวณิช. (2542). ภาษาเพลงรักจากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสามเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสาร
ภาษาและวรรณคดีไทย, 16, น. 25-31.