การรวบรวมลายเสื่อกกจันทบูร เพื่อการจัดการความรู้เรื่องเล่าวิถีชีวิต ของชุมชนเสม็ดงาม
คำสำคัญ:
ชื่อลายเสื่อกกจันทบูร การจัดการความรู้ ชุมชนเสม็ดงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการรวบรวมลายเสื่อกกจันทบูร เพื่อการจัดการความรู้เรื่องเล่า วิถีชีวิต ของชุมชนเสม็ดงาม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อรวบรวมชื่อลายเสื่อกกของชุมชนเสม็ดงาม และ 2. เพื่อการจัดการความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าและวิถีชีวิตชุมชนที่สะท้อนผ่านลวดลายเสื่อกก โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มทอเสื่อกก ที่มีความรู้ความชำนาญในการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลายเสื่อกกจำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่ม/เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์
สรุปผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. ลายเสื่อกกจันทบูรของชุมชนเสม็ดงาม ปรากฏทั้งสิ้น 75 ลาย โดยจำแนกชื่อลายเสื่อกกตามลักษณะการทอ เป็น 3 ลักษณะ คือ การทอแบบธรรมดา 31 ลาย การทอแบบมัดย้อม 4 ลาย และการทอแบบยกขิด 41 ลาย 2. ชื่อลายเสื่อกกจันทบูรของชุมชนเสม็ดงาม สะท้อนเรื่องราวของวิถีชีวิตชุมชน 3 มิติ คือ มิติแรกลวดลายที่สะท้อนภาพภูมิศาสตร์ธรรมชาติของชุมชน มิติที่สองลวดลายเสื่อกกที่สะท้อนภาพอาชีพ วิถีชีวิตชุมชน และมิติที่สามลวดลายเสื่อกกที่สะท้อนถึงอิทธิพลการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชน
References
เกษม มานะรุงวิทย. (2564). สื่อสัญลักษณ ความเชื่อสูอัตลักษณผาทอไทย-ลาว. วารสารศิลปศาสตร (วังนางเลิ้ง)
มทร. พระนคร, 1(1), น. 56-74.
จุไรรัตน สรรพสุข. (2564). ผูใหสัมภาษณ, สมปอง มูลมณี เปนผูสัมภาษณ, ตําบลหนองบัว อําเภอเมือง
จังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณเมื่อ ธันวาคม 2564.
ฉัฐมา อาสารัฐ และภรดี พันธุภากร. (2527). การศึกษาเรื่องการทอเสื่อจันทบุรี. วารสารสํานักงาน
คณะกรรมการการวิจัยแหงชาติ, 16(1), น. 1-31.
ตรีศิลป บุญขจร. (2547). นวนิยายกับสังคมไทย (2575-2500). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพรผลงานวิชาการ
คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
บุศรินทร สายรัตน และจักรพงษ แพทยหลักฟา. (2563). การศึกษาวิเคราะหรูปแบบการถายทอดความรู
ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกของจังหวัดจันทบุรี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), น. 104- 113.
ลักษณพร โรจนพิทักษกุล. (2555). การพัฒนาลวดลายเสื่อกกและการถายทอดนวัตกรรมใหมของวิสาหกิจชุมชน
แปรรูปเสื่อกกบางพลวงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑชุมชน. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร.
ศิริพร บุญชู, นันทวรรณ รักพงษ. (2555). ภูมิปญญาการผลิตเสนไหมไทยพื้นบานอีสาน. กรมหมอนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ.
สมปอง มูลมณี. (2564). เรื่องเลาประจําจังหวัดจันทบุรี: ความสัมพันธกับการสรางพื้นที่เพื่อจัดการทองเที่ยวเชิง
นิเวศในจังหวัดจันทบุรี. วิวิธวรรณสาร, 5(3), น. 337-358.
สิทธิชัย ศรีเจริญประมง ฤดีวรร ยิ่งยงและศตวรรษ ทิพโสต. (2563). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑทองถิ่นเพื่อ
การเชื่อมโยงกับการทองเที่ยว ของชุมชนบานบางกะจะ จังหวัดจันทบุร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงใหม, 21(2), น. 157-166.
อัษฎางค รอไธสง ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา และอุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2559). การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑลวดลาย
เฉพาะถิ่นงานทอเสื่อกกกลุมพนมรุงเสื่อกกและหัตถกรรม อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย.
วารสารวิชาการศิลปะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), น. 159-169.