ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านบ้านด่านชัย หมู่ที่ 7 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2560-2564)
คำสำคัญ:
ความคิดเห็น การปฏิบัติหน้าที่ ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านบ้านด่านชัย หมู่ที่ 7 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของหมู่บ้านด่านชัย เพื่อนำมาวิเคราะห์และรวบรวมเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และดำเนินการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่เต็มใจให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเท่านั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน บ้านด่านชัย หมู่ที่ 7 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรม ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ด้านการทะเบียนต่าง ๆ ด้านอื่น ๆ และด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ผลการศึกษาเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ ระยะเวลาการอยู่อาศัยในชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ไม่ส่งผลต่อความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน บ้านด่านชัย หมู่ที่ 7 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
References
กรมการปกครอง. (2556). คูมือการฝกอบรม กํานัน ผูใหญบาน ที่ไดรับเลือกใหม ประจําป 2556.
กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.
กิ่งเทียน ธรรมปญโญ และคณะ. (2563). ความพึงพอใจของอาสาพัฒนาชุมชนตอบทบาทของกํานันผูใหญบานอําเภอ
แมลานอย จังหวัดแมฮองสอน. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแหงแปซิฟค, 6(3), น. 245-252.
ณัฐวุฒิ ถุนนอก. (2555). การปฏิบัติงานตามบทบาทหนาที่ของกํานัน ผูใหญบาน กรณีศึกษา: อําเภอเมืองขอนแกน
จังหวัดขอนแกน. (การคนควาอิสระ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
นงนุช โพธิ์สาน. (2560). การปฏิบัติงานตามอํานาจหนาที่ของผูใหญบานในเขตอําเภอกันทรวิชัย จังหวัด
มหาสารคาม. (วิทยานิพนธรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
มาลัย ดําเนตร. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนตอการปฏิบัติหนาที่ของกํานัน ผูใหญบาน ตําบลนาขา อําเภอ
มัญจาคีรี จังหวัดขอนแกน. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มมร. วิทยาเขตอีสาน, 1(1), น. 56-61.
วิฑูรย เผือกผุด. (2559). ประสิทธิผลการปฏิบัติหนาที่ของกํานัน ผูใหญบาน ในการปกครองทองที่ตําบลศาลาลัย
อําเภอสามรอยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ. (การศึกษาอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร).
วิภา รุงจรัส และ พัชรี ศิลารัตน. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีตอการปฏิบัติงานตามบทบาทหนาที่ของ
ผูใหญบาน ในเขตตําบลเหนือเมือง อําเภอเมือง จังหวัดรอยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย วิทยาเขตรอยเอ็ด, 6(2), น. 119-128.
สุรพงษ รุงวารินทร. (2561). บทบาทดานการปกครองของกํานัน ผูใหญบาน : กรณีจังหวัดสุพรรณบุรี.
วารสารวิชาการวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1), น. 281-288.
อนุสรณ ปนธิ และคณะ. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนตอบทบาทกํานัน ผูใหญบาน กรณีศึกษาตําบล
เมืองพาน อําเภอพาน จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม).
อณิษฐา หาญภักดีนิยม. (2556). ภาวะความเปนผูนําของกํานัน ผูใหญบาน. วารสารวิทยาลัยสงฆนครลําปาง
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2(1).
อุสมาน ซาและ และอับดุลเลาะ ยูโซะ. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนตอบทบาทของผูนําฝายปกครองในเขต
อําเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 11(20), น. 115,133.