การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ฐานข้อมูล แหล่งท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และ 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องจากการใช้ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอำเภอพิมาย จากสำนักงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพิมาย จำนวน 211 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ การจัดทำฐานข้อมูลผู้วิจัยสร้างแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง จากนั้นลงพื้นที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวเพื่อบันทึกภาพและกำหนดค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อแยกประเภทแหล่งท่องเที่ยวและจัดทำฐานข้อมูล จากนั้นนำมาจัดทำเป็นแผนที่แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอพิมายและแสดงฐานข้อมูลในรูปแบบโปสเตอร์และเว็บไซต์ ในส่วนของการประเมินความพึงพอใจผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1. ตำบลที่สามารถจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในอำเภอพิมายได้ 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลกระชอน ตำบลกระเบื้องใหญ่ ตำบลดงใหญ่ ตำบลในเมือง ตำบลรังกาใหญ่ ตำบลสัมฤทธิ์ และตำบลหนองระเวียง ฐานข้อมูลประกอบด้วยชั้นข้อมูลจำนวน 7 ชั้นข้อมูล แต่ละชั้นข้อมูลประกอบด้วย 3 องค์ปรกอบ ได้แก่ ชื่อชั้นข้อมูล คุณลักษณะของชั้นข้อมูล รายละเอียดประกอบข้อมูลเชิงตำแหน่ง 2) จากการศึกษาระดับความพึงพอใจ พบว่าภาพรวมความพึงพอใจทั้ง 3 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลจากการศึกษาระดับความพึงพอใจจากการใช้ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สรุปได้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.31, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประโยชน์และการนําไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.37, S.D. = 0.51) รองลงมา คือ ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.31, S.D. = 0.50) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.26, S.D. = 0.52)
References
กระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา. (2561). ทิศทางการตลาดการทองเที่ยวป 2562 ของการทองเที่ยวแหงประเทศ
ไทย. สืบคนเมื่อ 26 มกราคม 2565, จาก
https://www.mots.go.th/content.php?nid=10572&filename=index
การทองเที่ยวแหงประเทศไทย. (2561). รายงานฉบับสมบูรณแผนปฏิบัติการพัฒนาการทองเที่ยว จังหวัด
นครราชสีมา บุรีรัมย สุรินทร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: การทองเที่ยวแหงประเทศไทย.
เจนจิรา หวังหลี, ชาคริต โคจรนา, ธรรมาภรณ ยวนใจ และธนกฤต รัตนสิมานนท. (2563). การพัฒนาเว็บไซต
สงเสริมการทองเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดตรัง. วารสารเกษตรศาสตรและเทคโนโลยี, 1(1), น. 84 - 93.
สืบคนเมื่อ 26 มกราคม 2565, จาก
https://li01.tcithaijo.org/index.php/atj/article/view/239798/173541
ชาญณรงค แกวกระจาง. (2555). การพัฒนาเว็บไซตประชาสัมพันธการทองเที่ยวจังหวัดกระบี่. (สารนิพนธ
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร). สืบคนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564, จาก
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Channarong_K.pdf
เยาวเรศ จันทะคัต, พงศพันธุ จันทะคัต, พลวัฒน กิสันเทียะ, กิตติวินท อุดม, ปฐมาวดี คุนกระโทก และฑิฆัมพร
หัดขุนทด. (2563). การประยุกตใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรผานเว็บสําหรับการสอนในรายวิชาการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมทองถิ่น. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่,
(2), น. 70-82.
งานสงเสริมการทองเที่ยวเทศบาลตําบลพิมาย. (2563). แผนสงเสริมการทองเที่ยวเทศบาลตําบลพิมายประจําป
งบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565. สืบคน 26 พฤศจิกายน 2564, จาก https://phimailocal.go.th/wp-
content/uploads/2020/03