อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตำบลบัวมาศ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุมาลี พลขุนทรัพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • นวรัตน์ เดชพิมล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • นันทิญา พันธ์โชติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น อัตลักษณ์ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของตำบลบัวมาศ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เก็บข้อมูลจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง

           ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของตำบลบัวมาศ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. อาหาร 2. ยาสมุนไพร 3. เครื่องใช้ และ 4. เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้  1. ปลาร้า 2. แชมพูยาสมุนไพร 3. หมวกสาน 4. ตะกร้าสาน 5. เสื่อกก 6. ผ้าฝ้าย และ 7. ผ้าไหมมัดหมี่ ผลการศึกษา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นพบว่า ปลาร้าเป็นวัตถุดิบหลักของอาหารอีสานและแสดงถึงภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหาร แชมพูยาสมุนไพรพบว่า ชาวบ้านนำเอามะกรูด ทองพันชั่ง และอัญชันที่พบมากในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่า แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและวิถีชีวิตที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ด้านหมวกสาน ตะกร้าสาน และเสื่อกก ปรากฏอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านลวดลายที่ดัดแปลงมาจากบริบทของชุมชนเพื่อสื่อสารความเป็นท้องถิ่นอีสาน ด้านผ้าฝ้ายและผ้าไหมมัดหมี่ พบว่า ลวดลายมีเอกลักษณ์เฉพาะ สีสันสวยงาม แปลกตา โดดเด่นและมีความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ๆ มีการนำเรื่องราวของท้องถิ่นมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า และยังคงรักษาลวดลายผ้าโบราณของบรรพบุรุษไว้

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2543). หลักมนุษยวิทยาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: รามาการพิมพ์.

จำนงค์ อัปภัย และคณะ. (2557). รูปแบบการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวคิดนิเวศวัฒนธรรมของตำบล

บัวมาศอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 20(2),

น. 77-88.

ฉวีวรรณ สินนาค. สัมภาษณ์. 12 กุมภาพันธ์ 2563.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). พลวัตทางสังคมผ่านสายตานักวิชาการไทย. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมูลนิธิผู้หญิง.

ทัศนีย์ บัวระภา. (2553). การสร้างความหมายของลวดลายผ้าและเอกลักษณ์ของผ้าทอพื้นบ้าน จังหวัด

มหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ธงชัย สมบูรณ์. (2549). อัตลักษณ์ของชาติตามนโยบายการศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะ

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุรินทร์ เปล่งสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญา ในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชน

รอบเขื่อน จุฬาภรณ์ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืดแสมศรี ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอ

คอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์, 10(2), น. 206-230.

ประเวศ วะสี. (2545). พลังท้องถิ่นในกระแสความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ในโครงการเวทีวิชาการวัฒนธรรม

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและ

พัสดุภัณฑ์.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.epub.rbru.ac.th/pdf.

พัทยา สายหู. (2533). วัฒนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

กระทรวงศึกษาธิการ.

พันธ์ มูลกวนบ้าน. สัมภาษณ์. 28 พฤศจิกายน 2562.

พรรณี ดีพรม. สัมภาษณ์. 28 พฤศจิกายน 2562.

ศิรินาถ ปิ่นทองพันธ์. (2546). อัตลักษณ์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562, จาก

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/.ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 1

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2547). OTOP ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิใจไทยทำ. สระบุรี: สำนักงาน

คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2563). เศรษฐกิจฐานราก. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563, จาก

https://web.codi.or.th/development_project/20201125-20029.

สวัสดิ์ แก้วแบน. (2562). ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมลายโบราณของชุมชนบ้านแกใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์.

วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 4(1), น. 71-85.

สมบูรณ์ ศิริพานิช. (2560). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าลายสาเกตเพื่อสร้างมูลราคาเพิ่มแก่ชุมชน.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2558). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนเกาะยอ. วารสารปาริชาติ,

(3), น. 83-103.

อานนท์ ภาคมาลี. (2555). ปลาร้า. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก

https://www.gotoknow.org/posts/510692&usg.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญามูลนิธิ.

องค์การบริหารส่วนตำบลบัวมาศ. (2562). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563, จาก

http://www.buamas.go.th/page.php?menuid=7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30